ผลของการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุชานุช ปะวะเสนัง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม, การเห็นคุณค่าในตนเอง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนกลุ่มก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม 2. เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติตามระบบของโรงเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม จำนวน 196 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน วัดจากการทำแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองและคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการให้การปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติตามระบบของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.70 และการให้การปรึกษากลุ่มทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ Paired-Sample t-test และ Independent t-test ผลวิจัยดังนี้

  1. การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติมีกรรมการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
  2. การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติตามระบบของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). บทความด้านสุขภาพจิต. สืบค้น 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30024

จินดาพร แสงแก้ว. (2541). การเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์แบบมาราธอนเพื่อพัฒนาความภาคภูมใจในตนเองของเด็กบ้านอุปถัมภ์มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

มาลิณี จุโฑปะมา. (2553). การเห็นคุณค่าในตนเองนั้นสำคัญไฉน ? และจะสร้างได้อย่างไร ?. วารสารวิชาการ, 2(2), 13-16.

วิจิตรา พูลเพิ่ม และ ชลลดา พันธุชิน. (2552). ทักษะชีวิตและการปรับตัวของนักศึกษาวัยรุ่นชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 21(1) 38 – 48.

สุธนี ลิกขะไชย. (2555). ผลของการใช้โปรแกรมต่อการเห็นคุณค่าแห่งตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

อภิวัฒน์ แก่นจำปา. (2560). การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Corey,M,S., Corey,G. & Corey,C. (2018). Groups: Process and practice (10th ed.). Thompson Higher Education.

Jacobs, E., Masson, L., & Harvill, L. (2002). Group counseling: strategies and skills (3rd). CA: Brooks/Cole.

Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. New York: Rinehart and Winston, Inc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27