ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานมีผลเชิงบวกต่อความผูกพันของบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
Effects of Work Motivation Factor on Organization Relationship of Educational Personnel in Moobankru Technological College
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ความผูกพันของบุคลากร, บุคลากรทางการศึกษา, วิทยาลัยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง สามารถเก็บข้อมูลได้ 114 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple linear Regression Analysis) ซึ่งตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง 0.393 – 0.707 และปรากฏว่าค่า VIF อยู่ที่ 1.955 แสดงว่าความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดปัญหา Multicollinearity
ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัว ประกอบด้วยปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงความผูกพันของบุคคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ได้ร้อยละ 51.10 สามารถอธิบายได้ดังนี้ 1) ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ระดับร้อยละ 84.50 ในทิศทางเดียวกัน และ 2) ปัจจัยค้ำจุนส่งผลต่อความผูกพันของบุคคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ระดับ 19.80 ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งนํามาสู่การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความผูกพันของบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ในระดับที่ดี
References
ณัฐดนัย ปัญจางคกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อบุคลากรในระดับมหาวิทยาลัย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธีรดา ไชยบรรดิษฐ. (2562). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี
วรรณิดา กันหา. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับความต้องการอยู่ต่อของพนักงานธนาคารในจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบุคคล, (2565).
วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ฝ่ายบุคคล, (2565).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อรรถสิทธิ์ ตันติยุทธ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานกองบำรุงรักษา การประปานครหลวง. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing research. New York : John Wiley & Son.
C. A. Smith, and others “Organizational Citizenship Behavior: Its Nature and Antencedents.” Journal of Applied Psychology. 67 (1983), 653.
Frederick Herzberg. (1979). Motivation and innovation: Who are workers serving. California Management Review, 22(2).
Steere, E.F., and Porter, L.W. (1979). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. California: Goodyear.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์