การบริหารแบบมีส่วนร่วมและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์
Participation in Administration Versus Organizational Commitments Affecting the Life Quality of Teachers in the Large Government Schools in Buri Ram Province
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตของครู , ความผูกพันต่อองค์การ, การบริหารแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ (2) วิเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ และ (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ 280 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ 18 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
- คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยสามลำดับแรก คือ ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคล สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ตามลำดับ
- การบริหารแบบมีส่วนร่วมในด้านการร่วมเสริมสร้างพลังบวก ด้านการร่วมกันสร้างโอกาส และด้านการร่วมกันมุ่งผลสัมฤทธิ์กับความผูกพันต่อองค์การในด้านการคงอยู่กับองค์กรส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของครูโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ได้แก่ (1) ให้ความสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจน (2) สนับสนุนการมีส่วนร่วมแบบเสริมสร้างพลังบวก และ (3) การร่วมสร้างโอกาสเพื่อให้เกิดการคงอยู่ขององค์กรต่อไป
References
จิรภา อินจันทร์สุข และทองหล่อ วงษ์อินทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ณัฏฉลดา รัตนคช. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรครูระดับประถมศึกษา ในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ รป.ม. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตันหยง ชุนศิริทรัพย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทนิตพอยน์ จำกัด.การค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์ภาภรณ์ มาศจันทร์. (2553). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของครูในอำเภอสอยดาว, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, (สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา).
นันทกิตติ แก้วกล้า. (2553).การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเขตตำบลท่ากระดาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการบริการการศึกษา, ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา).
บุญซม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น . (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.( 2557). รายงานการประเมินคุณภาพชีวติการทำงานและความสุขของข้าราชการ สำนักังานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ.2557. กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักอำนวยการ กรุงเทพฯ : สำนกังานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.( 2557). รายงานการประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานและความสุขของข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ.2557. กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักอำนวยการ กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคุณกรรมการขั้นพื้นฐาน.(2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัด. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
Anthony, W.P. (1978). Participative management. Massachusetts: Addison-Wesley.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective. continuance Psychology, 63, (1990): 1-18.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Dendero and Grace Marie. (1994).School-Based Decision Making on Student Achievement as Academic Skills. Dissertation Abstracts International, 59-04 A: 66.
Porter, L. W. (1973). Organizational commitment job satisfaction and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology. No. 16.
Steer, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly.22(3), 46-48
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.
Walton, R. E (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Davis, L.E. Churn’s, A.B. and Associates (Eds.). The Quality of Working Life.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์