การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
Reinforcement the Democratic Political Culture of People in Municipality of Ban-Khai District, Rayong Province
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมทางการเมือง, วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย, ประชาธิปไตยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (2) ปัญหาและอุปสรรคของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (3) แนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านค่าย จังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จำนวน 12 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้านค่ายอยู่ในระดับปานกลาง โน้มเอียงไปทางค่อนข้างสูง เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถาบันครอบครัว การศึกษา และค่านิยมประชาธิปไตย ขณะที่แนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นลำดับโดย ผู้นำชุมชน รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตย สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่สำคัญคือการเสริมสร้างประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหาที่เป็นหลักการของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบหรือโครงสร้าง แต่เป็นการปลูกฝังให้ประชาชนมีวิธีคิดและมีการดำเนินชีวิตที่เป็นประชาธิปไตย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์