การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริงสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Constructing English Reading Skill Practice Package Using Authentic Materials for Undergraduate English Majors of Bangkokthonburi University.
คำสำคัญ:
ภาษาอังกฤษ, แบบฝึกทักษะการอ่าน, สื่อสภาพจริงบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริงสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริง และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นโดยใช้สื่อสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำนวน 40 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริงสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ แผนจัดการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นโดยใช้สื่อสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริงที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ (2) ภายหลังการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสภาพจริง นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการทดลองสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นจากสื่อสภาพจริงอยู่ในระดับมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์