การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนหินดาดวิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
The Local Curriculum Development of Rice for Food’s Consistency in Hindad Vittaya School by Participatory Action Research
คำสำคัญ:
หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ข้าว, โรงเรียนหินดาดวิทยา, กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนหินดาดวิทยาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ข้าว เพื่อความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนหินดาดวิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน ชาวบ้านที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลหินดาด ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนหินดาดวิทยาได้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ข้าวเพื่อความมั่นคงทางอาหารของโรงเรียนหินดาดวิทยาโดยมีโครงสร้างหลักสูตรเป็นสาระเพิ่มเติม จำนวน 2 หน่วยกิต เวลาเรียน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 40 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคทฤษฏี 14 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 26 ชั่วโมง เปิดสอน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เนื้อหาสาระประกอบด้วย สายพันธุ์ข้าวและการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว ประเภทของการทำนาข้าว การวางแผนการปลูกข้าว การดูแลรักษา การป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยวและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวข้าว และการแปรรูปข้าว หลักสูตรพัฒนาจากการมีส่วนร่วมของคณะผู้วิจัย ครู นักเรียนผู้ปกครอง ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น ผลกระทบจากการวิจัยทำให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรทำให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจ และรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่น ครูในโรงเรียนหินดาดวิทยาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการทำหลักสูตรบูรณาการการเรียนรู้และเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์