การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

The Development of Learners Using Multiple Intelligence Activity-Learning Packages of Science Program Students

ผู้แต่ง

  • ดนุพล สืบสำราญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา, นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ที่เรียนวิชาปฏิบัติการชีววิทยา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ และค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา 5 ด้าน คือ 1. ความฉลาดทางด้านตรรกะ 2. ความฉลาดทางด้านมิติ 3. ความฉลาดภายในตน 4. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ และ 5. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ เพื่อให้ผู้เรียน เกิดสติปัญญารอบด้าน เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และรู้จักนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ประชากร ได้แก่ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 96 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษานักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ห้อง 1 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
          การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา สามารถสรุปผลได้ ดังนี้
          1. นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          2. นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา มีความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19

How to Cite

สืบสำราญ น. (2020). การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพหุปัญญา ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์: The Development of Learners Using Multiple Intelligence Activity-Learning Packages of Science Program Students. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 113–124. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/187127