การศึกษากระบวนการทำงานและปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ กรณีศึกษา บริษัท บีที จำกัด
Study of work processes and improvements to increase efficienc: A case Study BT Co., Ltd.
คำสำคัญ:
การปรับปรุง, การลดความผิดพลาด, การลดระยะเวลาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นระบบ มีระเบียบมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2) ศึกษาและหาวิธีแก้ไขการสั่งซื้อวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานให้มีระยะเวลาที่สั้นลงและลดของเสียจากการจัดซื้อ 3) ศึกษาเพื่อเสนอแนวทางปฎิบัติภายในคลังจัดเก็บให้มีระเบียบมากขึ้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการจัดการคลังสินค้า ทฤษฏี 5ส การทำ Visual Control และหลักการวิเคราะห์ตามลำดับ หรือ AHP เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาครอบคลุมพนักงานทั้งหมดของบริษัท บีที จำกัด มีจำนวนพนักงานทั้งหมด 15 คน และมีเครื่องจักรในการดำเนินงาน 11 เครื่อง
ผลการศึกษาว่า
1. สามารถลดความผิดพลาดในขั้นตอนการเย็บของพนักงานลงได้เหลือ 2,347 ตัว และสามารถลดระยะเวลในการเตรียมอุปกรณ์เหลือ 10 นาที
2. สามารถลดความผิดพลาดของเครื่องจักรขณะดำเนินงานของเครื่องจักร โดยลดกระสวยหลวมเหลือ 3 ครั้ง และลดปัญหาน้ำมันแห้งเหลือ 4 ครั้ง
3. สามารถลดความผิดพลาดของการดำเนินงานจากซัพพลายเออร์ โดยลดการส่งวัตถุดิบล่าช้าเหลือ 0 ครั้ง และลดการส่งวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐานเหลือ 1 ครั้ง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์