ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟในการทำงาน และความขัดแย้งระหว่างงานและครอบครัวของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนาม และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากระหว่างการระบาดทั่วโลก ส่งผลต่อความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงปัญหาครอบครัวของบุคลากรทางการแพทย์ แต่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ Burnout Syndrome (BS) และการเกิดภาวะ Work-Family Conflict (WFC) ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าในสถานบริการเฉพาะกิจสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ยังมีจำกัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประมาณความชุกของ BS และWFC รวมถึงระบุความสัมพันธ์ระหว่าง BS และWFC ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการเฉพาะกิจสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
วิธีการทำวิจัย งานวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางโดยวิธีสำรวจแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ รวมกับข้อมูลจากแบบสำรวจย้อนหลังของบุคลากรโรงพยาบาล ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2564 ถึง 30 พฤษภาคม 2565 ในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจจำนวน 14 แห่ง ภาวะBS ใช้แบบประเมินของ Maslach โดยประเมิน ด้านEmotional Exhaustion (EE), Depersonalization (DP) และReduced Personal Accomplishment (PA) และภาวะWFC ใช้แบบประเมินของ Netemeyer โดยประเมินทั้ง ด้าน Work Interference with Family (WIF)และFamily Interference with Work (FIW) และระบุความสัมพันธ์ระหว่างสองภาวะคำนวณโดยใช้ Pearson correlation
ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 202 คน อายุเฉลี่ย 33 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 87.1% พยาบาล 58.4% พบความชุกของภาวะ BS ระดับสูงด้าน EE, DP และ PA เท่ากับ 16.8%, 15.3% และ5% ตามลำดับ ความชุกของภาวะ WFC ระดับสูงด้าน WIF และFIW เท่ากับ 23.3% และ4.5% ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มี WFC ด้าน WIF สูงมีความสัมพันธ์กับ BS ด้าน EE และDPอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.57, p<0.05 และ r=0.47, p<0.05) ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มี WFC ด้าน FIW สูงมีความสัมพันธ์กับ BS ด้าน EE และDPอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน (r=0.42, p<0.05 และr=0.42, p<0.05) ตามลำดับ
สรุปผล การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาภาวะ BS และWFC ของบุคลากรด่านหน้าในสถานบริการสาธารณสุขที่จัดตั้งพิเศษสำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งพบว่าทั้งสองภาวะสามารถเกิดขึ้นได้ในบุคลากรทางการแพทย์ และมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการดูแลแก้ปัญหาภาวะ BS ในบุคลากรทางการแพทย์จึงไม่เพียงตัวบุคคลแต่รวมถึงครอบครัวของบุคลากรด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
De Girolamo G, Cerveri G, Clerici M, Monzani E, Spinogatti F, Starace F, et al. Mental Health in the Coronavirus Disease 2019 Emergency-The Italian Response. JAMA psychiatry. 2020;77(9):974.
Kisely S;Warren N;McMahon L;Dalais C;Henry I;Siskind D; Occurrence, prevention, and management of the psychological effects of emerging virus outbreaks on healthcare workers: Rapid Review and meta-analysis [Internet]. BMJ (Clinical research ed.). U.S. National Library of Medicine; [cited 2023Jan25]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32371466/
กรมสุขภาพจิต. Mental health check [Internet]. IN. [cited 2023Mar10]. Available from: https://checkin.dmh.go.th/manual/content/index.php?page_name=chapter_dashboard_admin
Evanoff B, Strickland J, Dale A, Hayibor L, Page E, Duncan J, et al. Work-Related and Personal Factors Associated With Mental Well-Being During the COVID-19 Response: Survey of Health Care and Other Workers. Journal of Medical Internet Research. 2020;22(8):e21366.
Zhang X, Wang J, Hao Y, Wu K, Jiao M, Liang L, et al. Prevalence and Factors Associated With Burnout of Frontline Healthcare Workers in Fighting Against the COVID-19 Pandemic: Evidence From China. Frontiers in Psychology. 2021;12.
Josh Senyak MK. Correlation sample size [Internet]. Correlation sample size | Sample Size Calculators. [cited 2023Jan25]. Available from: https://sample-size.net/correlation-sample-size/
Greenhaus J, Beutell N. Sources of Conflict between Work and Family Roles. The Academy of Management Review. 1985;10(1):76.
Netemeyer R, Boles J, McMurrian R. Development and validation of work–family conflict and family–work conflict scales. Journal of Applied Psychology. 1996;81(4):400-410.
แจ่มศักดิ์ พิทยา. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงาน ความขัดแย้งระหว่างบทบาทงานกับครอบครัวและความพึงพอใจในชีวิตของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลเอกชน [Internet]. Home. 2556 [cited 2023Jan25]. Available from: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/4087
Maslach C, Jackson S. The measurement of experienced burnout. Journal of Organizational Behavior. 1981;2(2):99-113.
เพ็ญศิรินภา นิตยา. ภาวะเหนื่อยล้าจากงานของบุคลากรสุขภาพในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด [Internet]. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. [cited 2023Mar10]. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ JCCPH/ article/ view/253159
พงศ์บุญชู ธนพร. อิทธิพลกำกับของภาวะผู้นำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงานภาวะหมดไฟในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน [Internet]. Kasetsart University Knowledge Repository : คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [cited 2023Mar10]. Available from: https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/ index.php?%2FKABJ%2Fsearch_detail%2Fresult%2F375493
Chen L, Liu J, Yang H, Ma H, Wang H, Huang Y, et al. Work-family conflict and job burn-out among Chinese doctors: the mediating role of coping styles. General Psychiatry. 2018;31(1):e000004.
Bagherzadeh R, Taghizadeh Z, Mohammadi E, Kazemnejad A, Pourreza A, Ebadi A. Relationship of work-family conflict with burnout and marital satisfaction: Cross-domain or source attribution relations? Health Promotion Perspectives. 2016;6(1):31–6.