เกี่ยวกับวารสาร
นับแต่ปีพ.ศ. 2542 ที่เริ่มมีฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย ความรู้ทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ได้มีการเติบโตอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นตามการเปลี่ยนแปลง การเจ็บป่วยของมนุษย์เพื่อให้ดูแลแบบองค์รวม ความรู้ทางเวชศาสตร์ครอบครัวมีการเติบโตจากการพัฒนางานในพื้นที่ผ่านในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งเวชศาสตร์ครอบครัวได้มีการฝึกอบรมขยายสู่ทีมสหวิชาชีพ ผ่านการฝึกอบรมเภสัชกรครอบครัว ทันตแพทย์ครอบครัว เป็นต้น
ทั้งนี้วารสารวิชการมีความสำคัญในการเป็นพื้นที่รวบรวมความรู้ทางวิชการ และงานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย นำไปสู่การพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพการบริการและวิชาการ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างคุณค่าและเอกลักษณ์ของบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัวต่อบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย เห็นความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและความเป็นปึกแผ่นระหว่างองค์กรต่างที่ร่วมพัฒนาเวชศาสตร์ครอบครัว รวมทั้งเครือข่ายสาขาวิชาชีพ จึงร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชมชน ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการดำเนินงานวารสารบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว ในการดำเนินงานวารสาร
วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว เป็นวารสารอย่างเป็นทางการของ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชปฏิบัติครอบครัวแห่งประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน และ ชมรมแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว โดยมีเป้าหมายในการผลิตเป็นวารสารที่ประกอบด้วยเนื้อหาทางวิชการที่มีคุณภาพ และในขณะเดียวกัน มีรูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงได้ น่าอ่าน นำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาต่อไปได้จริง
Focus and scope
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิความรู้ทางวิชาการถูกนำไปใช้พัฒนาต่อยอดอย่างแพร่หลาย
2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายและองค์กรที่ปฏิบัติงานทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ
3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยงานวิชาการทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและระบบริการปฐมภูมิ
4. เกิดการเรียนรู้อัตลักษณ์ (Identity) และคุณค่าของเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิผ่านงานวิชาการและองค์ความรู้
Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)
บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)
Types of articles (ประเภทของบทความ)
บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (original article) บทความปริทัศน์ (review article) บความพิเศษ (special article) รายงานผู้ป่วย (case study) และเรื่องเล่า (story telling)
Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)
- ภาษาไทย
- ภาษาอังกฤษ
Publication Frequency (กำหนดออก)
วารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี
- ฉบับเดือนมกราคม – เมษายน
- ฉบับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
- ฉบับเดือนกันยายน – ธันวาคม
Publisher (เจ้าของวารสาร)
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และ สมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัว แห่งประเทศไทย
Royal College of Family Physicians of Thailand and The General Practitioner/Family Practice Association of Thailand