ประสิทธิผลของโปรแกรมกระตุ้นความร่วมมือในการใช้ยาที่มีต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี ในหน่วยบริการปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและวัตถุประสงค์: ความร่วมมือการใช้ยาเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการใช้โปรแกรมกระตุ้นความร่วมมือการใช้ยา โดยประยุกต์จากหลักหาแนวทางร่วมรักษาและการจัดการด้านยาด้วยตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี ในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อเพิ่มความร่วมมือการใช้ยาและควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น
วัสดุและวิธีการ: วิจัยในรูปแบบ Randomized controlled trial ผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 141 คน เป็นกลุ่มทดลอง 71 คน กลุ่มควบคุม 70 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความร่วมมือการใช้ยา (MAST®) โปรแกรมที่ใช้คือ Adherence protocol จนครบ 12 สัปดาห์ ประเมินผลระดับ HbA1C และวัดคะแนนจากแบบวัด MAST® วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมานเป็น independent t-test แสดงผลเป็นค่า p-value และ 95% Confidence Interval
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ย HbA1C เป็น 7.47±0.86 และ 7.97±0.85 ค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบวัด MAST® เป็น 36.46±2.05 และ 35.4±1.84 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามลำดับ ซึ่งพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองด้าน (p < 0.05)
สรุป: การใช้โปรแกรมกระตุ้นความร่วมมือการใช้ยาที่ประยุกต์จากหลักหาแนวทางร่วมรักษาและการจัดการด้านยาด้วยตนเอง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี ในหน่วยบริการปฐมภูมิได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
Ho PM, Rumsfeld JS, Masoudi FA, McClure DL, Plomondon ME, Steiner JF. Effect of medication non-adherence on hospitalization and mortality among patients with diabetes mellitus. Arch Intern Med 2006;166(4):1836-41.
Ann M. Carracher, Payal H. Marathe, Kelly L. International Diabetes Federation 2017. Journal of Diabetes 2018;10(7):353–6.
World Health Organization. Global report on diabetes [Internet]. 2021 [cited 20 March 2021]. Available from: http://www.who.int/diabetes/country-profiles/en.
Anna KB. Factors associated with elderly diabetic adherence to treatment in primary health care. Cien Saude Colet 2018;23(3):953-61.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http:// bps.moph.go.th/new_bps/สถิติสาธารณสุข.
Bureau of Non-Communicable Disease, editor. Situation on NCDs prevention and control in Thailand. Nontaburi: Emotion Art; 2017.
Ministry of public health, editor. 5-Year National NCDs Prevention and Control Strategic and Action Plan (2017-2021). Bangkok: Emotion Art ; 2017.
นีลนาถ เจ๊ะยอ. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวในการบริหารยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2015;1(9):74-79.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.
นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา(Medication nonadherence). ไทยภษัชยนิพนธ์(ฉบับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์) มศก. 2555;1(7):126-128.
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ. Medication Adherence: from Theory to Research : ความร่วมมือในการใช้ยาจากทฤษฏี สู่งานวิจัย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มรกต; 2559.
วิมลรัตน์ จงเจริญ, วันดีคหะวงศ์, อังศุมา อภิชาโต. การส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551; 26 (1): 112-114.
Ahmad NS, Ramli A, Islahudin F, Paraidathathu T. Medication adherence in patients with type 2 diabetes mellitus treated at primary health clinics in Malaysia. Patient Prefer Adherence 2013;7(1):
-530.
ศิณาพรรณ หอมรส. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการโรงพยาบาลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
Teklay G, Hussien J, Tesfaye D. Non-adherence and associated factors among type 2 diabetic patients at jimma university specialized hospital, southwest Ethiopia. J Med Sci 2013;1: 578-84.
สุปรียา เสียงดัง. Self - Care Behaviors of Patients with Uncontrolled DM. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI. 2560; 4 (2): 51-53.
ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. An Education Intervention for Medication Adherence in Uncontrolled Diabetes in Thailand. Pacific Rim Int J Nurs Res 2018; 22(2):144-155.
Atak N, Gurkan T, Kose K. The effect of education on knowledge, self-management behaviors and self-efficacy of patients with type 2 diabetes. Aust J Adv Nurs 2008;26(2):66–74.
Tan MY, Magarey JM, Chee SS, Lee LF, Tan MH. A brief structured education program enhances self-care practices and improves glycemic control in Malaysians with poorly controlled diabetes. Health Education Research 2011; 5(26):896–907.
รายงานตัวชี้วัด NCD Clinic Plus ปี 2563 [อินเตอร์เนต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://hdcservice.moph.go.th.
สายพิณ หัตถีรัตน์. คู่มือหมอครอบครัวฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2549.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. 4th edition. New York: Pergamon Press; 1991.
ปิยลัมพร หะวานนท์. วสันต์ ปัญญาแสง. การพิจารณาขนาดตัวอย่าง: พิเชฐ สัมปทานุกุล. หลักการทำวิจัยสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี; 2555. หน้า 261-279.
อมรพรรณ ศุภจำรูญ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย:การทดสอบในผู้ป่วยเบาหวาน. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018;2(10):121-128.
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2018; 2(19): 81-87.
Matthew JL. Finding common ground: meta-synthesis of communication frameworks found in patient communication, supervision and simulation literature. BMC Medical education 2020;20 (1):45-61.
นิศานาถ แคภูเขียว. The development of a drug monitoring model for the elderly with diabetes “Diabetes Drug Calendar” in Phabatnasing Tambol Health Promotion Hospital, Rattanawapi Distric, Nongkhai Province. [อินเตอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2564 ก.ย.11]. เข้าถึงได้จาก https://www.ssoratana.com/uploads/media/201908080947492755.pdf
Shea S, Weinstock RS, Teresi JA, Palnas W, Starren J, Cimino JJ. A randomized trial comparing telemedicine use case management with usual care in older, ethnically diverse, medically underserved patients with diabetes mellitus: 5 year results of the IDEATel study. J Am Med Inform Assoc 2009; 16(3): 446-456.