ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของจังหวัดเชียงรายควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
วิธีวิจัย: ศึกษาแบบภาคตัดขวางกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของจังหวัดเชียงรายจํานวน 259 คนเก็บข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อระดับความดันโลหิตโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ด้วยสถิติทดสอบChi-square, t-test และMultiple logistic regression นําเสนอด้วยadjusted OR และช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 259 คนเป็นเพศหญิงร้อยละ 64.09 อายุเฉลี่ย 68 ปี (±6.40) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.88 (กก./ม.2) (±4.06) ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ร้อยละ 42.86 (95% CI 36.75-49.13) ปัจจัยที่ส่งผลให้ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายได้แก่ภาวะโรคไตเรื้อรัง (adjusted OR 3.13, 95% CI 0.99-9.92, p-value 0.05), ผู้ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต (adjusted OR 2.38, 95% CI 1.03-5.49, p-value 0.04), รับประทานยาหลายชนิด (adjusted OR 1.23, 95% CI 1.00-1.51, p-value 0.05) และโรคไขมันในเลือดสูง (adjusted OR 0.48, 95% CI 0.24-0.96, p-value 0.04)
สรุป: ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงเกือบครึ่งหนึ่งควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายโดยปัจจัยที่ส่งผลให้ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้ตามเป้าหมายคือภาวะโรคไตเรื้อรังผู้ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาลดความดันโลหิตรับประทานยาหลายชนิดและผู้ป่วยที่มีโรคไขมันในเลือดสูงร่วมกับรักษาด้วยยาลดไขมันสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
2. EunJu Lee , Euna Park. Self-care behavior and related factors in older patients with uncontrolled hypertension. Contemporary Nurse 2017;53(6):607-621.
3. Panidnun Wongsuwan.Development of Instrument for Keep Taking Medicine and Motivation in Taking Medicine among Elderly Hypertension in Community, วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560;1:90-104.
4. Validation of the Persian Version of the 8-Item Morisky Medication Adherence Scale (MMAS-8) in Iranian Hypertensive Patients, Global Journal of Health Science 2015;7:1916-9736.
5. มลทณา เบ็ญณรงค์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2017;29:54-66.
6. ผศ.นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; [เข้าถึงเมื่อ 23 ม.ค 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Patient%20with%20chronic%20kidney%20disease.pdf
7. Neculau, A. E., Rogozea, L. M., Andreescu, O., Jinga, L., Dinu, E. A., & Tint, D. Multiple Drug-Intolerant Hypertension. American Journal of Therapeutics 2017;24(5):588–591.
8. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป ;2562.
9. Beatrice A. Golomb. Reduction in Blood Pressure With StatinsResults From the UCSD Statin Studyl. Archives of Internal Medicine 2008;168(7):721-727.
10. Ferrier, K. E., Muhlmann, M. H., Baguet, J.-P., Cameron, J. D., Jennings, G. L., Dart, A. M., & Kingwell, B. A. Intensive cholesterol reduction lowers blood pressure and large artery stiffness in isolated systolic hypertension. Journal of the American College of Cardiology 2002;39(6):1020–1025.