ความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในสื่อสังคมออนไลน์ต่อนโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566

ผู้แต่ง

  • จิระโรจน์ มะหมัดกุล คณะการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฐานุวัชร์ รินนานนท์ คณะการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จารุพล เรืองสุวรรณ คณะการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดามพ์ สุคนธทรัพย์ คณะการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

มุสลิมไทย, การเลือกตั้ง, สื่อสังคมออนไลน์, นโยบายพรรคการเมือง, อิสลามการเมือง

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในสื่อสังคมออนไลน์ต่อนโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566

วิธีการศึกษา คณะผู้เขียนใช้แนวคิดอิสลามการเมืองเป็นกรอบในการวิเคราะห์และสังเกตความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมที่แสดงออกมาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยมีกรอบเวลาในการศึกษา คือ ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ศึกษา คือ เฟซบุ๊ก และ แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก เช่น เพจเฟซบุ๊ก คลิปเรียล สตอรี เป็นต้น โดยขอบเขตเนื้อหาที่คณะผู้เขียนนำมาศึกษามาจาก เพจเฟซบุ๊กสำนักข่าวต่างๆ ทั้งของสังคมไทยโดยรวม และสำนักข่าวของมุสลิม เพจนักการเมืองมุสลิม เพจพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึง        เฟซบุ๊กส่วนตัวของนักวิชาการมุสลิม และประชาชนมุสลิม เป็นต้น

ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ามุสลิมไทยมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในการแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก โดยมีมุสลิมส่วนหนึ่งใช้โลกทัศน์อิสลามในการสนับสนุนข้อถกเถียงโต้แย้งฝ่ายที่เห็นต่างเกี่ยวกับนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอ คณะผู้เขียนได้วิเคราะห์ความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในช่วงก่อนการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566  ซึ่งสามารถจำแนกได้ 7 ประเภท คือ แนวคิดอนุรักษ์นิยม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดมลายู/มุสลิม แนวคิดผสมผสาน แนวคิดเลือกผู้สมัครรายบุคคล แนวคิดใช้สิทธิ์ “ไม่เลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด” และ แนวคิดไม่ไปเลือกตั้ง

การนำผลวิจัยไปใช้ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้มุสลิมในประเทศไทยมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน ปัจจัยสำคัญดังกล่าว คือ การลำดับความสำคัญและการให้น้ำหนักประเด็นทางการเมืองและสังคมแตกต่างกัน และการที่มุสลิมรับรู้ชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ในอนาคตสิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายมุสลิมก็คือ จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพรรคการเมืองที่ตอบสนองความต้องการ อีกทั้งเป็นทางเลือกและความหวังให้กับชุมชนมุสลิมทั่วประเทศนอกเหนือจากพรรคแนวเสรีนิยม หรือ อนุรักษ์นิยม

References

Al-Farooq Phuea Santi. (2023, May 8). [Image with text summarizing the Prachachart Party's policies towards Muslims, focusing on education, tax systems, social welfare budgets, and enhancing security and well-being] [Facebook post]. Facebook. Retrieved from https://www.facebook.com/photo?fbid=10230776705945017&set=pcb.10230776722185423

Al-Farooq Phuea Santi. (2023, May 9). [Image with text summarizing the United Thai Nation Party’s policies towards Muslims] [Facebook post]. Facebook. Retrieved from https://www.facebook.com/photo/?fbid=10230776706265025&set=pcb.10230776722185423

Din-a, A. (2023, July 4). wí-krór · pák bprà-chaa châat · bpraa-gòt gaan nai kwaam táa taai bpom · pák săa-kăa · kwaam mân kong [Analysis of the Prachachart Party on the challenging phenomenon “a branch party – security”]. Mathichon Weekly. Retrieved from https://www.matichonweekly.com/special-report/article_133660

Heywood, A. (2017). Political ideologies: An introduction (6th ed.). Palgrave Macmillan. Retrieved from https://archive.org/details/andrew-heywood-political-ideologies-an-introduction-palgrave-macmillan-2017

Move Forward Party. (2023, 10 May). [Image with text summarizing the Move Forward Party’s policies towards Muslims] [Facebook post]. Facebook. Retrieved from https://www.facebook.com/photo.php?fbid=553761130260404&id=100068795666616&set=a.244439731192547&locale=th_TH

Sahoh, I. (2023). Pa(t)tani and 2023’s election: identities, money, and transition? Journal of Political and Social Agenda, 2(1), 30–47. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polsciPSU/article/view/265933

Sahoh, I., & Sattar, Y. (2016). Political Islam in Southeast Asia: Standpoint, position, and Muslim political movements in democratic systems. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, 10(2), 65–81. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/59066

ThaiHealth. (2019, June 10). Sut suan pra-cha-gon Muslim thêe a-sai yùu nai pra-thet Thai: 44% khŏng chao Muslim nai Thai a-sai yùu nai 3 jang-wat chai-daen phak tai (Yala, Pattani, Narathiwat)... [Facebook post]. Facebook. Retrieved from

https://www.facebook.com/thaihealth/photos/a.181206533105/10156374524663106/?type=3

Thai PBS. (2023, May 1). Chum chon mút-sà-lim nai tai: Sàt sùuan bprà-chaa gon láe kwaam táa taai dâan kun-ná-pâap chee-wít [Muslim communities in Thailand: Population proportions and challenges in quality of life]. ThaiPBS. Retrieved from https://www.thaipbs.or.th/news/content/327202

Thai PBS. (2023, June 4). Dap fai tai: Kho táa thaai gaan meuang bplìan phaan [Extinguishing the southern fire: Challenges in political transitions]. The Active by ThaiPBS. Retrieved from https://theactive.thaipbs.or.th/read/challenge-south-transform

Thai Post. (2023, September 10). Phak Prachachart: Lang bpràp tháp yài, choo tong kàp klêuon pha-hu wát-tá-na-tham [Prachachart Party: After a major reshuffle, driving multiculturalism]. Thai Post. Retrieved from https://www.thaipost.net/articles-news/445807/

Thongfuea, S. (2019). Islam and politics (1st ed.). Pattani Forum.

Zhang, T. (2023, June 6). The hand steeple jàak tâa meu sĕrm bùk-ká-lík pôo nam · sòo trít-sà-dee sŏm kóp kít chêuuam yohng · in-loo mí naa dtì [The hand steeple: From gesture to leadership, toward integrative thinking and innovation]. Cofact Blog. Retrieved from https://blog.cofact.org/specialreport6-66/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

มะหมัดกุล จ., รินนานนท์ ฐ. ., เรืองสุวรรณ จ., & สุคนธทรัพย์ ด. (2024). ความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในสื่อสังคมออนไลน์ต่อนโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 15(2), 77–93. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/274941