การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้รูปแบบStory Line สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, การอ่าน, ผลสัมฤทธิ์, อัลอัคลากบทคัดย่อ
จุดประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความโดยใช้รูปแบบ Storyline 2) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้รูปแบบ Storyline 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ Storyline 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Storyline
วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านสะเอะ จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 2) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบ Storyline
ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความโดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก มีค่าประสิทธิภาพ 83.15/85.22 2. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 คือ เท่ากับ 82.03 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (25.57 > 19.87) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก
การนำผลวิจัยไปใช้ บทความวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา
References
Anantaworasakul, A. (2002). gaan jàt gaan riian gaan sŏn dûuay wí-tee Storyline [Organizing teaching activities using the Storyline method]. Faculty of Education, Chulalongkorn University.
Chaikhamming, R. (2018). Development of reading comprehension ability of ninth-grade students, using story line learning [Unpublished master’s thesis]. Maha Sarakham Rajabhat University.
Khaemmanee, T. (2005). rôop bàep gaan riian gaan sŏn taang lêuuak têe làak lăai [Teaching format: Various options]. Chulalongkorn University Press.
Khammee, P. (2021). Development of reading comprehension Success Using Tale of Dhammapada Supported by Storyline teaching techniques for Mathayomsuksa 3 students [Unpublished master’s thesis]. Naresuan University.
Mathung, K. (2019). Developing reading comprehension abilities of Mathayom 1 students at Khun Krai Pittayakhom School by using reading comprehension exercises. (Research Report). Khun Krai Phitthayakhom School.
Ministry of Education. (2010). naew taang gaan jàt gìt-jà-gam pát-tá-naa pôo riian · dtaam làk sòot gaen glaang gaan sèuk-săa kân péun tăan · pút-tá-sàk-gà-ràat · sŏng-pan-hâa-rói-hâa-sìp-èt [Guidelines for organizing student development activities. According to the Basic Education Core Curriculum, B.E. 2007]. Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.
Phetcharat, J., & Thongbai, A. (2013). gaan àan pêuua pát-tá-naa kun-ná-pâap chee-wít [Reading to improve quality of life]. Odeon store.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา