ผลของโปรแกรม “EASY TAHFIZ” ต่อความสามารถในการท่องจำอัลกุรอาน สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนปลายปีที่ 2
คำสำคัญ:
EASY TAHFIZ, การท่องจำอัลกุรอานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการท่องจำอัลกุรอานของผู้เรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ ก่อนและหลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการท่องจำ อัลกุรอานของผู้เรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ หลังสิ้นสุดการเรียน 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ
วิธีการศึกษา บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเรียน หลังเรียนและหลังสิ้นสุดการเรียน 4 สัปดาห์ทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ ส่วนในกลุ่มควบคุมจะจัดการเรียนรู้ตามปกติ โดยวัดความสามารถในการท่องจำอัลกุรอาน จำนวน 3 ครั้ง คือวัดก่อนเรียน วัดหลังเรียน และวัดซ้ำอีก 1 ครั้ง หลังสิ้นสุดการเรียน 4 สัปดาห์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการท่องจำอัลกุรอาน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม EASY TAHFIZ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบหลังสิ้นสุดการเรียน 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้โปรแกรม EASY TAHFIZ อยู่ในระดับมากที่สุด
การนำผลวิจัยไปใช้ บทความวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา
References
Aunchart, D. (2013). Employment website development. Chiang Rai Rajabhat University.
Chamnanrua, J. (2015). trít-sà-dee gaan riian róo kŏng baen doo-raa [Bandura Learning Theory]. Hoossanee3661. http://hoossanee3661.blogspot.com/2015/11/blog-post_46.html
Khampee wittaya School. (2021). Education Quality Development Plan. Khampee wittaya School.
Panich, W. (2012). wí-tĕe sâang gaan riian róo pêuua sìt nai sà-dtà-wát têe yêe-sìp-èt [Learning for students in the 21st century]. Sodsea foundation.
Sintuchai, S. (2013, July 17). trít-sà-dee bprà-muuan săan sŏn-têt [Information Processing Theory]. bcns.blogspot. http://km-bcns.blogspot.com/2013/07/information-processing-theory. html
The Ministry of Education. (2008). làk sòot gaen glaang gaan sèuk-săa kân péun tăan pút-tá-sàk-gà-ràat sŏng-pan-hâa-rói-hâa-sìp-èt [The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551]. Printing House of the Agricultural Cooperatives Association of Thailand.
The Old Arab Students Association of Thailand. (1998). prá má-hăa kam-pee an gù raan próm bplae bpen paa-săa tai [The Holy Quran with Thai translations]. King Fahad Center for Printing the Quran.
Wichchawut, Ch. (1997). Human memory. Chuanpim printing.
Wonganotroad, P. (2013). Educational Psychology. Bangkok Media Center.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา