การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง
คำสำคัญ:
หลักสูตรระยะสั้น, คุณธรรมจริยธรรม, หลักคำสอนของลุกมานุลฮากีม, อิสลามศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลังการใช้หลัก สูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง
วิธีการศึกษา การวิจัยนี้ อยู่ในประเภทบทความวิจัย ประชากร คือ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง โรงเรียนอิสลามศาสตร์วิทยา ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง โรงเรียนอิสลามศาสตร์วิทยา จำนวน 25 คน วิธีได้มาของกลุ่มตัวอย่าง ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) หลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรม ตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง วิธีการตรวจสอบเครื่องมือ มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย จำนวน 3 คน โดยนำหลักสูตรไปใช้กับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง โรงเรียนอิสลาม ศาสตรวิทยา จำนวน 25 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลมีลำดับขั้นตอน คือ 1) ผู้วิจัยนำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาเอกสารแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem ไว้ใช้ให้กับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง 2) ผู้วิจัยให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาของการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนก่อนการอบรม 3) ผู้วิจัยอบรมให้ความรู้ด้วยการใช้หลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางที่พัฒนาขึ้น 4) ผู้วิจัยให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางหลังการอบรม 5) ผู้วิจัยบันทึกการปฏิบัติของผู้เรียน 6) ผู้วิจัยให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการพัฒนาหลักสูตรและตรวจสอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และ 2) ขั้นศึกษาผลการใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง โรงเรียนอิสลามศาสตรวิทยา จำนวน 25 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมเท่ากับ 80.37/89.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางที่มีต่อหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางอยู่ในระดับมากที่สุด
การนำผลวิจัยไปใช้ 1) นำหลักสูตรไปใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมุสลิมที่ต้องปฏิบัติเพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2) ให้โรงเรียนนำหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมตามหลักคำสอนของ Luqmanul Hakeem สำหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลาง ไปใช้ในการเรียนการสอนและในการอบรมผู้เรียนต่อไป
References
Bungatayong, M. (2009). Student development activities to instill Islamic ethics in students at secondary school private Islamic teaching Yala Educational Service Area Region [Thesis, Master of Arts]. Prince of Songkhla University.
Choo dtoh, N. (1997) Gaan pát-tá-naa lák-sà-nà ní-săi taang jà-rí-yá-tam săm-ràp dèk bpà tm-má-wai trít-sà-dee, naew kít láe naew bpà-dtì-bàt, ná-kon sà-wăn, kom-piw-dtêr aen gráaf fík. [Moral and ethical development of students at Satree Nonthaburi School Silpakorn University/Nakhon Pathom]. ISBN 9746352016.P.N. Printing.
Chutai Jenjit, P. (2002). Psychology of teaching and learning. Bangkok: Sermsin Prepress System. Teaching Psychology. Compact Print.
Luasmai, N. (2009) Gaan wí-jai láe pát-tá-naa rôop bàep gaan jàt gìt-jà-gam · pêuua srm sâang kun- ná-tam jà-rí-yá-tam · săm-ràp nák riian rá-dàp bprà-tm sèuk-săa [Research and development of activities to strengthen morality and ethics for elementary school students]. Chulalongkorn University. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2009.526
Sinlarat, P. (2019). Principles of curriculum and teaching management. Chulalongkorn University.
Sinthapanont, S. (2008). Teaching and learning innovation for youth quality development. Limited Partnership 9119. Technique Printing.
Srisa-at, B. (2008). Fundamentals of Educational Research. 4th printing. Printing coordinator.
Srisaark, B. (2003). Preliminary research. 7th edition. Suwi Richasan.
Sulong, A. (2018). Pondok Institutions: A Case Study of Curriculum and Teaching in the Past and Present. Yala Rajabhat University: Faculty of Education.
Taba, H. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. Harcourt Brace and World.
Tantirajanawong, S., & Tawisuwan, S. (2009). Gaan sòng srm kun-ná-tam têe mee · bprà-sìt-tí-pâap · gor-rá-nee sèuk-săa glùm dèk · yao-wá-chon láe kâa râat-chá-gaan pâak rát · raai ngaan [Promotion of existing virtues. Efficiency: A Case Study of a Child Group Youth and government officials, report]. Department of Religious Affairs Research Report Ministry of Culture
Typography, Bangkok P.N. Printing. (1997). Typography, ethical character: Bangkok P.N. Printing.
Yamareng, U. (2019). Training curriculum development. For Tadika teachers in Yala Province The development of an Islamic education curriculum at the school level according to the curriculum of Islamic studies of the mosque Early Islamic Studies. (Ibtidaiyyah) 2016. Yala Rajabhat University, Faculty of Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา