คุณภาพชีวิตของครอบครัวมุอัลลัฟตามวิถีอิสลาม: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิด ยามีอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, มุอัลลัฟ, ชุมชนมุสลิมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครอบครัวมุอัลลัฟในสังคมมุสลิมโดยใช้กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดยามีอุ้ลมุตตะกีน (ลำสาลี) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
วิธีการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากกรณีศึกษาผู้เป็นมุอัลลัฟจำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยจัดหมวดหมู่ประเด็นหลัก และนำเสนอผลการศึกษาเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย คุณภาพชีวิตของครอบครัวมุอัลลัฟประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านจิตวิญญาณ การเข้าใจบทบัญญัติศาสนาอย่างลึกซึ้งและนำมาสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง 2) ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ การมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง สามารถรับมือกับความกดดันและภาวะความเครียดได้ 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม การปรับตัวและรักษาสัมพันธภาพกับเครือญาติและมิตรสหายต่างศาสนิกได้ดี และ4) ด้านอาชีพการงานและสภาพแวดล้อม ความมั่นคงทางอาชีพและการได้ทำงานที่มีสิทธิเสรีภาพปฏิบัติศาสนกิจ ทั้งนี้คุณภาพชีวิตด้านจิตวิญญาณเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ
การนำผลวิจัยไปใช้ องค์กรหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาเป็นโปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตมุอัลลัฟอย่างครบทุกมิติ โดยเน้นการสร้างรากฐานความเข้าใจในหลักคำสอนที่ถูกต้อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของมุอัลลัฟให้สามารถยืนหยัดศรัทธาและคุณภาพชีวิตที่สงบสุขภายใต้ร่มเงาอิสลาม
References
Bangkapi District Office. (2014). 100 Pī k̄het bāngkapi: yon roy tảmnān r̂oy adīt 100 pī k̄het bāngkapi (100 years Bangkapi District: Retracing the legend of a hundred years in the past 100 years Bangkapi District). Bangkapi District Office.
Chaiya, D. (2014). Modern families and converts to Christianity in Bangkok and its vicinity. [Master’s thesis]. Faculty of Sociology and Anthropology. Thammasat University.
Charoenwong, S., Jirawatkul, S., & Manderson, L. (2015). Changing Religion is Changing Lifestyle: The Adaptation Process. of Buddhist Isaan women towards becoming Muslims. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 60(4). 317-330.
Charoenwong, S., Jirawatkul, S., & Manderson, L. (2016). The well-being of Thai-Isaan women: bonding in spiritual pursuits and a new life. Journal of Nursing and Health Care, 34(1). 56-64.
Jularat, P. (2020). Citwithya kār rū̂khid (Cognitive psychology). (1st edition). Chulalongkorn University Press.
Leininger, M. (1994). Quality of Life from a Transcultural Nursing Perspective. Nursing Science Quarterly, 7(1), 22-28.
Numsuk, A. (2015, October 3). Muallaf in Thai society. https://www.islammore.com/view/4166
Peplau, HE. (1994). Quality of Life: An Interpersonal Perspective. Nursing Science Quarterly, 7(1). 10-15.
Podhisita, C. (2019). Ṣ̄āstr læa ṣ̄ilp̒ h̄æ̀ng kār wicạy cheing khuṇp̣hāph (The Science and Art of Qualitative Research) (8thed). Amarin Printing and Publishing.
Prayadsap, P. (2018). The Conversion of non-Muslims to lslam in Thailand: A Case study of Muallaf in andaman bay area communities. [Doctoral dissertation]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17532.
Roy, C. (1984). Introduction to nursing: An adaptation model (2nded.). Englewood Cliffs. Prentice Hall.
Sirawathana, C., & Surinya, T. (2013). Self-acceptance. family relationship Community participation and the quality of life of the elderly in Din Daeng Community Housing Authority Bangkok. Journal of Social Sciences and Humanities, 39(2). 80-94.
Srisaard, B. (2017). Kār wicạy beụ̄ngt̂on (Preliminary research). (10th edition, revised edition). Suweeriyasan.
Toh-Art, M. (2012). Learning and Communication of Muslim Identity of Muallaf in Urban and Rural Areas of Thailand. [Doctoral dissertation]. Communication Arts. Dhurakij Pundit University.
World Health Organization, (2021, October 3). Promoting the rights of people with mental disorders: solutions in countries. https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา