บทบาทของสตรีมุสลิมหม้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการปรับตัวตามอิสลามวิถี กรณีศึกษา : สตรีมุสลิมหม้ายในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ฮามีดะห์ฮาสัน โต๊ะมะ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • ฟัยศอล โต๊ะมา Faculty of Education, Fatoni University
  • คอยรียะห์ มะโซะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

คำสำคัญ:

การปรับตัว, อิสลามวิถี , สตรีมุสลิมหม้าย, บันนังสตา, ชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และสถานภาพทางสังคมของสตรีมุสลิมหม้ายตามหลักการศาสนาอิสลาม 2) เพื่อศึกษาปัญหาของสตรีมุสลิมหม้ายเผชิญ            การปรับตัวตามอิสลามวิถี กลไกทางสังคมและวัฒนธรรมที่ให้ความช่วยเหลือสตรีมุสลิมหม้ายในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

วิธีการศึกษา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยข้อมูลเอกสารและภาคสนาม พื้นที่ศึกษาคืออำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 30  คน คือ สตรีมุสลิมหม้าย 24 คนและ ผู้นำศาสนา  6  คน โดยใช้แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และจะวิเคราะห์โดยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ 

ผลการวิจัย  1) นางที่สามีเสียชีวิตหรือถูกหย่าที่มิได้มีเพศสัมพันธ์กันไม่มีอิดดะฮ์      มีสิทธิ์ได้รับค่าสินสอดครึ่งหรือตามที่ตกลงกัน หากการหย่าสาเหตุมาจากสามีค่าสินสอดเป็นสิทธิของนางทั้งหมด นางที่ถูกหย่าหรือสามีเสียชีวิตขณะที่ตั้งครรภ์อิดดะฮ์คือการคลอดบุตรซึ่งสามีที่มีชีวิตต้องอุปการะและดูแลในช่วงนั้นและหลังจากนั้น นางถูกหย่าอยู่ในวัยประจำเดือน อิดดะฮ์คือ อัฏฏุฮุร์ นางในวัยหมดประจำเดือน อิดดะฮ์คือสามเดือน นางต้องอยู่ในบ้านพร้อมสามีและเขาต้องอุปการะเผื่อเปลี่ยนใจจะกลับคืนดีกัน หากหย่าเป็นครั้งที่สามและมิได้ตั้งครรภ์ตามทัศนะของชาฟิอีย์และมาลิก สามีควรให้ที่อยู่อาศัยและมอบของขวัญเป็นการปลอบใจ ส่วนนางที่สามีเสียชีวิตมิได้ตั้งครรภ์ อิดดะฮ์คือสี่เดือนสิบวัน และมีสิทธิ์รับมรดก 1/4 หากไม่มีลูก และ 1/8 หากมีลูก 2) นางจะเผชิญปัญหาความยากจนเป็นประการแรก นอกจากภรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ไม่สงบเท่านั้น รองลงมาคือการเลี้ยงดูบุตร  ส่วนนางประเภทอื่น ๆ ไม่มีความช่วยเหลือทั้งภาครัฐและเอกชน นางจะปรับตัวตามอิสลามวิถีอยู่ในระดับที่ดีที่แตกต่างกันจากการสังเกตพบว่า วิถีชีวิตของนางส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพที่ลำบาก

การนำผลวิจัยไปใช้  1) สามีต้องอดทนและห่างไกลจากการหย่าร้างนอกจากไม่มีทางเลือกและควรนำหลักการอิสลามมาเป็นบรรทัดฐาน 2) สตรีมุสลิมหม้ายควรอดทน อดกลั้นในการดูแลลูก ๆ พร้อมขอดูอาอ์โดยเฉพาะในยามค่ำคืนและอดทนในการปรับตัวตามอิสลามวิถีโดยบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺจะทรงเปิดทางออกอย่างง่ายดาย

References

Abu Dawood, S. S. (2000). Sunan Abi Dawood. Dar Ibn Haram.

Arab Universities Alumni Association. (1999). Holy Quran Thai meaning: King Fahd Glorious Quran Printing Complex. Madinah al-Munawarah.

Al Bani, W. S. (1975). Al mar’ah Al muslimah. Dar Ibn Haram

Al Bukhari, M. I. (2008). Sahih al Bukhari. Markaz Maktabat al-Fa lil Attijarat wa al-Tawzy‘i.

Al-Qurtubi, R. (1981). Bidayah al-Mujtahid wa al- Nihayah almuqtasid (5th Ed.). Dar al- Ma‘rifah.

Al khauli, B. (nd). Al Islam Wal Mar’ah Al Muasorah (3 th Ed.). Dar al Qalam.

Al- Khusti, M. (1994). Petua Kebahagian Rumahtagga. Darul Nu’man.

Buatchum, K., Kongsuwan, V., & Suttharangsee, W. (2017). Psychological Self-Care of Widows from the Unrest Situation in Southern Thailand: A Preliminary Study. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 37(1), 97–104. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/view/ 80926

Bisri, M. A. (1991). Wanita Dalam Syariat Dan Masyarakat.Thinkers Library SDN BHD.

Dean, H. (1985). Annafaqa Wachchiqok wa taaddud Zaujat wa Khayfia Ilajuha al Islam. Al Watan.

Din, H. (1985). Nafaqah wa al-Shiqaq wa al- Ta‘adud Zaujat wa Kaifa ‘ilajuha al-islam. Al-Waton.

Ibn Rushd, Q. (1981). Bidayah al-Mujtahid wa Nihayah al-Muktasid(5thEd). Dar al Ma’rifah.

Masarakama, M., & Nataening, H. (2012). Complete research report The Status and Adjustment of Muslim Women Project Widows in the Three Southern Border Provinces: A Case Study: idowed Muslim Women in Raman District, Yala Province. The Thailand Research Fund (TRF).

Vaivanjit, S., Langputeh, P., Makeng, M., Tuanbula, K., Sulong, V., & Nire, S. (2022). Muslim Widows and Physical Activity Spaces: Health Promotion in the Deep South Unrest. Journal of Liberal Arts RMUTT, 1(2), 21–32. Retrieved from https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1472

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023

How to Cite

โต๊ะมะ ฮ. ., โต๊ะมา ฟ. ., & มะโซะ ค. . (2023). บทบาทของสตรีมุสลิมหม้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการปรับตัวตามอิสลามวิถี กรณีศึกษา : สตรีมุสลิมหม้ายในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 14(1), 87–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/265525