การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อับดุลย์ลาเต๊ะ สาและ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อับดุลรอนิง สือแต คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

องค์กรมุสลิม, อัตลักษณ์มุสลิม, มุอัลลัฟ, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและบริบทขององค์กรมุสลิมที่ให้ความช่วยเหลือและการสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 2) ศึกษารูปแบบขององค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) พัฒนารูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

วิธีการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บข้อมูลเป็นตัวแทนจากองค์กรมุสลิม 10 องค์กร จำนวน 30 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการนำรูปแบบไปใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยอิงตามกรอบการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย 

ผลการวิจัย 1. องค์กรมุสลิมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีส่วนช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟอย่างหลากหลายแตกต่างกันไปตามพันธกิจขององค์กร คือ 1) มูลนิธิสันติชน เน้นการจัดการรู้อิสลาม ให้คำปรึกษา รับฟังปัญหาของมุอัลลัฟ ให้ความรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต 2) มูลนิธิรักมนุษยชาติ เน้นให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมด้านปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่มและอื่น ๆ การจัดการเรียนการสอน การฝึกฝน การให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม 3) มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนามุสลิมอีสาน เน้นให้การศึกษาและความรู้ในการสร้างอัตลักษณ์มุสลิม มีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคและประเทศชาติ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือของพี่น้องมุสลิมในภูมิภาคอีสานของประเทศไทยและระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมให้มีคุณภาพผ่านการศึกษาและกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การสอนศาสนาแก่มุอัลลัฟ ค่ายอบรมภาคฤดูร้อนแก่เยาวชนมุสลิม เป็นต้น 2. รูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) การออกหนังสือรับรองการนับถือศาสนาอิสลาม 2) การจัดการเรียนรู้อิสลาม 3) การจัดการฝึกอ่านอัลกุรอาน 4) การจัดมอบซะกาตและเงินบริจาค 5) การจัดตั้งกองทุนมุอัลลัฟ และ 6) การส่งเสริมอาชีพและปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน 3. การพัฒนารูปแบบขององค์กรมุสลิมในการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมของมุอัลลัฟในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า การพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีชื่อรูปแบบ คือ “อัลอีร์ชาด โมเดล (Al-'Irshad Model)” หมายถึง “การชี้แนะหนทางที่ถูกต้องอย่างชาญฉลาด” ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) Al = Al-Quran คือ การจัดการฝึกอ่านอัลกุรอาน 2) I = Ilmu คือ การจัดการเรียนรู้อิสลาม 3) R = Rizki  คือ การส่งเสริมอาชีพและปัจจัยยังชีพขั้นพื้นฐาน 4) Sh = Shahadah คือ การออกหนังสือรับรองการนับถือศาสนาอิสลาม 5) A= Alms คือ การจัดมอบซะกาตและเงินบริจาค และ 6) D= Sunduk คือการจัดตั้งกองทุนมุอัลลัฟ

การนำผลวิจัยไปใช้  1) สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรสำรวจจำนวนมุอัลลัฟแต่ละมัสยิดให้ชัดเจนในแต่ละปี ส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้ด้านหลักการของศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง และมีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟให้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนทางความคิดและประสบการณ์ระหว่างมุอัลลัฟด้วยกัน 2) ควรจัดตั้งศูนย์มุอัลลัฟในการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟ โดยให้ชมรมอิมามประจำอำเภอเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ ภายใต้การกำกับดูแลของค์ณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ทั้งนี้ควรคำนึงถึงให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ 3) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของมุอัลลัฟ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟด้วยกัน และการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้แก่มุอัลลัฟ 4) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมุอัลลัฟกับมัสยิด โดยอิมามต้องให้ความเอาใจใส่ต่อมุอัลลัฟให้ความรู้ด้านศาสนาอิสลาม และการอยู่ร่วมกันในชุมชนมุสลิม

References

Binlateh, W., & Thongchuay, C. (2010). The Processes of Sustaining Muslim Identities and Strong Community Building: The Case Study of Ban Nua Mosque. AL-NUR Journal of Graduate School, Fatoni University. 5(9), 55-66. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NUR_YIU/article/ view/1093/857

Nong Chok District Mosque Administrator Club Bangkok. (2012). Guide to Muallaf (New Muslims) (18thed). Nong Chok District Mosque Administrators Club.

Noomsuk, A. (2016). Islamic Da'wah in the context of Thai Society: Muallafs training Program regular mosque. Muslim News. 31 January 2016.

O-Ramlong, T. (2014). Da‘awah Methodology of Santichon Muslim Foundation to New Convert Muslims. [Master’s thesis] Prince of Songkla University.

Plodpluang, U. (2013). Data Analysis in Phenomenology Studies. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 23(2), 1-10.

Qaradawiy, Y. (2006). Fig al-Zakāh. Maktabah Whabāh.

Salae, H. (2007). Transnational Muslim organizations and human security : a case study of international islamic relief organization of Saudi Arabia in Thailand. [Master’s thesis] Chulalongkorn University.

Sohsan, J. Apichatvullop, Y. Thongyou, M. (2008). Nur-Al-Iman Islamic Mosque Community and The Construction of Muslim Community in the Pluralistic Society of Isan. Journal of Mekong Societies. 4(1),53-92.

Southern border Provinces Group. (2018). Southern border Provinces Development Plan 2019-2021. Group of Strategic Management of Southern Border Provinces.

Sungkharat, U., & Taweeburut, T. (2015). Tourism management based identity and way of life in ecotourism location the south of Thailand. [ Master’s thesis] Prince of Songkla University.

Tho-Ard, M. (2012). Muallaf’s Learning and Communicating of Muslim Identity in the Rural and Urban Areas of Thailand. [Master’s thesis] Dhurakij Pundit University.

Wali, S., Asmail, A., Uma, A., & Azizskul, H. (2021). Model of learning and innovation in community economy using masjid as a base a base in Pattani Province. [Research report] Program Management Unit on Area Based Development (PMU A).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023

How to Cite

สาและ อ. ., & สือแต อ. (2023). การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือและสร้างอัตลักษณ์มุสลิมแก่มุอัลลัฟที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยขององค์กรมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 14(1), 137–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/265125