การศึกษาแนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ทิชากรณ์ จินดา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซาฝีอี อาดำ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

สังคมมุสลิม, จิตอาสาแบบอิสลาม, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความหมายและโครงสร้างสังคมไทยมุสลิม 2) ศึกษาการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาในทัศนะทั่วไปและอิสลาม และ 3) ศึกษาแนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารโรงเรียน (ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ และผู้จัดการ) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา จำนวน 48 โรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์หาค่าความถี่และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) เพื่อหาข้อสรุปและนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะการบรรยาย 

ผลการวิจัย 1. สังคมไทยมุสลิมคือกลุ่มคนที่รวมตัวกันในประเทศไทย มีการปฏิสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารทางสังคมระหว่างกันผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีปฏิบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยยึดถืออัลกุรอานและอัสสุนนะฮ์เป็นแนวทางในการปฏิบัติ มีโครงสร้างสังคมประกอบด้วย 5 ประการ คือ 1) หลักการยึดมั่นหรือความเชื่อ 2) ผู้นำทางสังคม 3) สถาบันทางสังคม 4) วาระทางสังคม และ 5) วัฒนธรรมค่านิยม 2. การให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาในทัศนะทั่วไปและอิสลามมีความเหมือนกันคือการเสียสละ การให้ความช่วยเหลือทั้งในส่วนของทรัพย์ แรงกาย สติปัญญา เวลา ให้กับบุคคลหรือกลุ่มคนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ได้รับการแก้ปัญหาหรือเพื่อการพัฒนาโดยไม่หวังผลตอบแทน สำหรับความต่างของการให้บริการเชิงจิตอาสาอิสลามจากทัศนะทั่วไปคือ ทุกมิติในวิถีปฏิบัติของอิสลามจะใช้หลักความเชื่อและบทบัญญัติแห่งพระผู้เป็นเจ้า และจากการศึกษาหลักคำสอนอิสลามในคัมภีร์อัลกุรอาน อัสสุนนะฮ์ และทัศนะนักปราชญ์และวิชาการมุสลิมพบว่า แนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาตามแบบอิสลามมี 16 ประการ ได้แก่ 1) การเป็นอิหม่ามละหมาด 2) การอะซาน 3) การบริการมัสยิด 4) การสอนคัมภีร์อัลกุรอานและศาสตร์ต่าง ๆ 5) การพัฒนาอาชีพ 6) การบริจาคทาน 7) การเลี้ยงดูครอบครัว 8) การสร้างความปรองดองระหว่างมนุษย์ 9) การใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว 10) การช่วยเหลือคนขัดสนยากจน 11) การช่วยเหลือคนทุกข์ 12) การขจัดสิ่งกีดขวางออกจากถนน 13) การช่วยรักษาคนหูหนวกให้เป็นปกติ 14) การอธิบายให้คนบกพร่องทางปัญญาเข้าใจ 15) การนำทางคนตาบอด และ 16) การทำความดีต่อปศุสัตว์และบรรดาสัตว์ทั่วไป 3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรม แรงจูงใจ และการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา พบว่า พฤติกรรมและแรงจูงใจจิตอาสาของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง สำหรับการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4. แนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา พบว่า มี 3 รูปแบบ คือ 1) แนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการกระทำหรือการปฏิบัติ 2) แนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการบริหารจัดการ และ 3) แนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามในรูปแบบการให้ความรู้

การนำผลวิจัยไปใช้  สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการให้บริการสังคมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามที่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันและขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมได้ตรงเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุด

References

Arab Alumni Association. (2004). The Holy Quran with Thai meaning. King Fahd Center for the Quran Printing in Madinah.

Ahmad, M. (2001). Musnad Imam Ahmad. Mu-assasah al-Risalah.

Boonchom, S. (2545). Introduction to Research (7th edition). Suweeriyasan.

al-Bukhari, M. (2001). Sohih al-Bukhari (صحيح البخاري). Dar Tuk al-Najah.

al-Bukhariy, M. (1422). Sahih al-Bukhariy (صحيح البخاري). Dar Tauqu al-Najat.

al-Hashimiy, M. (2013). Al-Mujtama’ al-Muslim Kama Yabnihi al-’Islam fi al-Kitab wa al-Sunnah (المجتمع المسلم كما يبنيه الإسلام في االكتاب والسنة). Al-Qahirah Dar al-Salam li at-Taba‘ah wa al-Nashri wa al-Tauzia’.

Boonyanusith, K. (2011). Development of instructional model for enhancing respectful mind and ethical mind based on teaching and learning via service learning for undergraduate students. Dissertation, Ed.D. (Curriculum Research and Development). Graduate School, Srinakharinwirot University.

’Ibn Baththal, Y. (2003). Syarh Sahih al-Bukhariy (شرح صحيح البخارى). Maktabah al-Rusyd.

’Ibn Hajjaj, M. (1955). Sahih Muslim (صحيح المسلم). Dar Ihya’ al-Turath al-‘Arabi.

’Ibn Kathir, I. (1999-1420). Tafsir ’Ibn Kathir (تفسير ابن كثير). Dar al-Taiyyibah.

Puangngam, K. (2550). Local government on theories, concepts and principles (Textbook).

Suthirath, C. (2555). Teaching children to have a public mind. V. Print Company Limited.

Wongsangiam, M. (2008). Arab-Thai dictionary. Manop Wongsangiam Book Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-06-2023

How to Cite

จินดา ท. ., & อาดำ ซ. . (2023). การศึกษาแนวทางการให้บริการสังคมมุสลิมเชิงจิตอาสาแบบอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 14(1), 64–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/263983