ประสบการณ์การเดินทางฮัจญ์ชาวคริสเตียนยุโรป
คำสำคัญ:
มักกะฮ์, ประสบการณ์ฮัจญ์, คริสเตียนยุโรปบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเดินทางสู่ความดี: ประสบการณ์การเดินทางไปฮัจญ์ของมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการเดินทางสู่ฮัจญ์ของผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่าที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในวัตถุประสงค์การวิจัยนี้ได้มีการรวบรวมประสบการณ์ฮัจญ์ในอดีตรวมถึง ประสบการณ์การเดินทางฮัจญ์ของชาวคริสเตียนที่แม้จะมีเป้าหมายที่ผิดเพี้ยนจากเจตนารมณ์ฮัจญ์ แต่บันทึกการเดินทางของพวกเขาสะท้อนให้เห็นสภาพและสถานการณ์ฮัจญ์ ณ ช่วงเวลาที่เดินทางไปได้ดีมาก
วิธีการศึกษา การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ข้อมูลหลักนำมาจากหนังสือ “Christians at Mecca” เขียนโดยออกุสตัส รัลลี่ (Augustus Ralli) โดยเฉพาะบรรดาชาวคริสเตียนยุโรปที่เคยเดินทางไปประกอบศาสนกิจฮัจญ์รวม 16 คนระหว่างปี ค.ศ. 1500-1890 ในส่วนบทความนี้นำเสนอเพียง 5 คน ซึ่งมีอิทธิพลและเกี่ยวข้องกับการเดินทางฮัจญ์ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนความพยายามและแสวงหาวิธีการเพื่อให้สามารถเดินทางไปได้ มุมมองต่อผู้ประกอบฮัจญ์ สภาพการณ์ต่าง ๆ ของคนและเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้เขียนยังได้จากการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อยืนยันการเดินทางจริงมายัง มักกะฮ์และการสนับสนุนทัศนะของผู้เขียน
ผลการวิจัย ผู้เขียนหนังสือ “Christians at Mecca” ได้รวบรวมบันทึกการเดินทางของชาวคริสเตียนยุโรปที่ผ่านประสบการณ์การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยเป้าประสงค์ที่คลุมเครือ ทั้งด้วยเหตุผลส่วนตัว ภารกิจในฐานะเจ้าหน้าที่ของเจ้าอาณานิคมยุโรป การผจญภัย การศึกษาหาความรู้ และผ่านกระบวนการทำฮัจญ์จำนวน 20 คน โดยคนแรกเดินทางในปี ค.ศ. 1503 และคนสุดท้ายในหนังสือนี้เดินทางในปี ค.ศ.1894 บันทึกการ
การนำผลการวิจัยไปใช้ การศึกษาได้สะท้อนมุมมองจากบุคคลภายนอก (outsiders) ต่อกิจกรรมฮัจญ์ การบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สำคัญทั้งในเชิงเอกสารและภาพถ่าย และสะท้อนความยากลำบากของกระบวนประกอบพิธีฮัจญ์ เส้นทางฮัจญ์และการเดินทางฮัจญ์ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน สะท้อนความพยายามต่าง ๆ โดยเฉพาะการเรียนภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ และวิชาการอิสลาม อีกทั้งยังศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของชาวอาหรับ บรรยากาศการประกอบพิธีฮัจญ์ สภาพบ้านเมืองในนครมะดีนะฮ์ นครมักกะฮ์และเมืองใกล้เคียง นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวมลายูและชวา และข้อมูลจากบันทึกอื่น ๆ ประกอบการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20
References
Bonner, A. (1975). Ali Bey in Mecca, 1807. History Today, 25(3), 196-203.
Britainica. (n.d). Lodovico-de-Varthema. online 24 March 2021. https:// www.britannica.com/biography/Lodovico-de-Varthema.
D. Metcalf, B. (1990). The Pilgrimage Remembered: South Asian Accounts of the Hajj, in Muslim Travelers, Pilgrimage, Migration, and Religious Imagination. Dale F. Eickelman and James Piscatori (eds.), Routledge.
F.Eickelman, D., & Piscatori, J. (1990). Muslim Travelers, Pilgrimage, Migration, and Religious Imagination. Routledge.
Jeffery, A. (1929). Christians at Mecca. The Muslim World, 19, 221-232.
Jamil, F. (1997). Islam Zaman Moden: Cabaran dan Konflik. Library’s Thinker.
Japakia, I. L. (2012). Hajj Mabrur (in Thai), SBPAC.
Khantasit, W. (2001). Study on Hajj Pilgrimage of Muslims in Thailand [Master Thesis], Mahidol University.
Mahama, M. (2007). Philosophy of Hajj. online 17 April 2020. https:// islamhouse.com/ th/articles/62609/
Ralli, A. (1909). Christians at Mecca. William Heinemann.
R.Roff, W. (2009). Studies on Islam and Society in Southeast Asia, NUS Press.
Sjoerd van Koningsveld, P. (2016). Conversion of European Intellectuals to Islam: The Case of Christiaan Snouck Hurgronje alias ʿAbd al-Ghaffār”. In Muslims in Interwar Europe. Bekim Agai, Umar Ryad, Mehdi Sajid (ed.), Brill.
Usaimeen, M. (2007). Hajj and Umrah Procedures (in Thai translated from Arabic). Al-Rabwah.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา