ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อีสมาแอ กาเต๊ะ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อับดุรอนิง สือแต คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ความต้องการและความคาดหวัง, นักศึกษา, หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การวิจัยนี้จึงมีเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของคณะวิทยาการอิสลาม จำนวน 51 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์

ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นด้านความต้องการและความคาดหวังต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.053 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านการพัฒนานักศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.14 รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.957 รองลงมาอีกคือ ด้านการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.063 และด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุดคือ ด้านการให้บริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.050 ตามลำดับ

การนำผลวิจัยไปใช้ หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สามารถนำผลวิจัยไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความพร้อมและสมบูรณ์มากขึ้น รวมไปถึงองค์กร หรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สามารถนำผลการศึกษาดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อปรับปรุงหลักสูตรของตัวเองได้

References

Office of the National Economic and Social Development Board (2015) Direction of the National Economic and Social Development Plan No. 12

Faculty of Islamic Studies (2018), Doctor of Philosophy Program Islamic Studies Program Improved Program 2018, Faculty of Islamic Studies, Prince of Songkhla University, Pattani Campus

Wattanapakorn, P. (2014). The Study of Achievement of Student Centered Learning Model in Seminar in Multimedia in Mass Communication of the 4th year students of Multimedia Technology Department, Faculty of Engineering and Architecture :Rajamangala University of Technology Issan. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences, 1(1), 66–72. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/19 623

Phonprathan, S., & Kittithamopas, S. (2010). Learning Achievement in Photography for Communication Subject. Using images for communication using project-based teaching and learning on a network. Faculty of Engineering and Architecture, Rajamangala University of Technology Isan Surangkarat Nuengchaiyot (2006)

Baosuwan, K. (2007). Satisfaction towards studying at Suan Dusit Rajabhat University. Sukhothai Provincial Center. Faculty of Humanities and social sciences, Suan Dusit Rajabhat University.

Na Ayudhya, W. T. (2001). Development of teaching and learning in higher education. Printing house of Chulalongkorn University.

Pooboomin, P. (2015). Factors Affecting Students’ Satisfaction on service’s the Office of Academic Promotion and Registration Rajabhat Mahasarakham University. Master of Public Administration Thesis Mahasarakham University.

Thammacharoen, R. (2011). Factors and Indicators Affecting Popularity of Private Islamic Schools in the Special Development Zone of Southern Border Provinces. Journal of Education Burapha University. 22(3), 73-85.

Katih, I. (2019). The role of the College of Islamic Studies, Prince of Songkla University Pattani Campus on Understanding Islamic Moderation and Adaptation in a multicultural society. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 10(2), 1–13. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/ article/view/233519

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.). Lippincott.

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). Harpers and Row.

Maslow, A. H. (2000). The Maslow Nusiness Rreader. John Wiley & Sons.

Chonko, Lawrence B., John F. Tanner, and William A. Weeks. (1992), Reward Preferences of Salespeople. Journal of Personal Selling and Sales Management, 12(3) (Summer), 67-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2022

How to Cite

กาเต๊ะ อ., สือแต อ. ., & หนุ่มสุข อ. . (2022). ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรอิสลามศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 334–357. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/257951