การปรับตัวของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี หลังปูเต๊ะ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มูฮำหมัดราฟีร์ มะเก็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19)

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Questions) ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา จำนวน 11 คน ซึ่งมีการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา  พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มีการปรับตัวภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ใน 3 ด้าน ซึ่งนักวิจัยปรับจากมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่า ด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 คือ 1) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ได้แก่ การพัฒนาผู้เรียนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ส่งเสริมการเรียน เอาใจใส่ และยอมรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล การสร้างแรงบันดาลใจผู้เรียน การพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การดูแล ช่วยเหลือ พัฒนา และรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล การสร้างนวัตกรรม สื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรรค์ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ได้แก่ การร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม                                         

การนำผลวิจัยไปใช้ ผลจากการวิจัยนี้นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และสถาบันพัฒนาครูสามารถนำไปออกแบบ วางแผนและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ตลอดจนหน่วยงานระดับประเทศที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู

References

Abdul Kadir, F., & Abdul Aziz, A. (2021). Teaching Practicum during Covid-19 Pandemic: A Review of the Challenges and Opportunities of Pre-service Teachers. International Journal of Academic Research in Business & Social Sciences. 11(4), 1175-1183.

Abd Hadi Bunyamin, M., Hanri, C., Mohd Rameli, M. R., & Ahmad Alhassora, N. S. (2021). The Pre-service Teachers’ Internship Program during the Pandemic Prospects for a New Landscape of Teacher Education. Revista Geintec Gestao Inovagao Technologias, 11(3), 807-824.

Adeeb, M. J. (2020). The Challenges Faced by Pre-Service Mathematics Teachers during their Teaching Practice in the UAE: Implications for Teacher Education Programs. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 19(7), 23-34.

Affouneh, S., Salha, S., & Khalif, Z.N. (2020). Designing Quality E-Learning Environments for Emergency Remote Teaching in Coronavirus Crisis. Interdisciplinary Journal of Virtual Learning in Medical Sciences, 11(2), 1-3.

Bozkurt, A., & Sharma, R. C. (2020). Emergency remote teaching in a time of global crisis due to CoronaVirus pandemic. Journal of Distance Education, 15(1), I-VI.

Ersin, P., Atay, D., & Mede, E. (2020). Boosting Preservice Teachers’ Competence and Online Teaching Readiness through E-Practicum during the COVID-19 Outbreak. International Journal of TESOL Studies, 2(2), 112-124.

Langputeh, S. & Makeng, M. (2021). Trends of Basic Islamic Educational Management in Southern Thailand after the Pandemic Covid-19). Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 12 (1), 1-13.

Panto, P. (2020). Teaching and learning management in Thailand under the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019 (COVID–19)]. Office of Academic Affairs, Secretariat of the House of Representatives.

Phuwijit, C. (2021). Efficiency in Online Learning Management of Digital Age. Rajapark Journal 15(40), 1-15.

Rogers, C. R. (1967). Client-centered Therapy. Houghton Mifflin.

Rules of the Teachers' Council on Professional Standards (No. 4) 2020. (2020 March, 20). Rātchakitčhānubēkā. [Government Gazette], 136(68ง), p 18-20.

Sepulveda-Escobar, P., & Morrison, A. (2020). Online teaching placement during the Covid- 19 Pandemic in Chile: challenges and opportunities. European Journal of Teacher Education, 43(4), 587-607.

Thasosut, S. (2561 July, 15). pǣt withī sō̜n ʻō̜nlai hai mī prasitthiphāp læ phon samrit thīdī. [8 effective and effective online teaching methods]. Retrieved 11 June 2021 from https://beyondkru.com /th/articles/8-best-practices-for-online-teaching.

Thonghatta, M. (2021). The condition of online learning management in the situation of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) epidemic of foreign language learning subjects Pak Phanang School Nakhon Si Thammarat Province. Lawasri Journal of Thepsatri Rajabhat University, 5(1), 43-52.

Wae-U-Seng, N. (2017). kānčhatkān sưksā nai ʻItsalām : nǣokhit sū kān patibat . [Educational Management in Islam: Concepts into Practice.]. College of Islamic Studies Prince of Songkla University.

Wongyai. V., & Marut, P. (2020). Kānpramœ̄n kānrīanrū New normal. [Learning Assessment in New Normal]. Postgraduate Srinakha rinwirot University.

Wayo, V., Charoennukun, A., Kankayan, C., & Khonyai, J. (2020). Teaching style Online under the Pandemic situation of COVID-19 virus: concept and application of teaching and learning management. Journal of Health Center 9: Journal of Health Promotion and Environmental Health, 14(34), 285-298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2022

How to Cite

หลังปูเต๊ะ ส. ., & มะเก็ง ม. . (2022). การปรับตัวของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(1), 170–202. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/257629