ฟื้นฟูมาตรฐานทางจริยธรรมอิสลาม: คุณูปการของอิสลามในการแก้ไขวิกฤติสิ่งแวดล้อมและความท้าทายในการบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ผู้แต่ง

  • มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ธรรมชาติของมนุษย์, อะมานะฮ์, ฟิตเราะฮ์, คอลีฟะฮ์, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายและการสถาปนาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ (human nature) และธรรมชาติของโลกอันเกิดจากการปฏิวัติทางปัญญาในยุโรป (Enlightenment) ซึ่งนำไปสู่การทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมโหฬารโดยเปรียบเทียบกับความหมายของมนุษย์และธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองมโนทัศน์ในคำสอนของอิสลาม อันสามารถนำมาเป็นรากฐานทางจริยธรรมในการปกป้องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิธีการศึกษา ศึกษาเอกสารงานเขียนทางปรัชญาตะวันตกและผลกระทบของการพัฒนาอันเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเอกสารปรัชญาความคิดอิสลาม ตัวบททางศาสนา ตลอดจนเอกสารข้อเขียนเชิงวิพากษ์ปรัชญาตะวันตกของนักวิชาการทั้งมุสลิมและนักวิชาการที่ไม่ใช่มุสลิม

ผลการศึกษา การประกอบสร้างความหมายเกี่ยวกับ ธรรมชาติของมนุษย์ (human nature) และธรรมชาติของโลกอันเกิดจากการปฏิวัติทางปัญญาในยุโรป (Enlightenment) ที่ยืนยันว่ามนุษย์ไม่มีอะไรมากไปกว่าสสารและในทางสังคมมนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Man is social animal) โดยมนุษย์มีธรรมชาติที่ไม่แตกต่างจากสัตว์ ทำให้คุณค่า ความสูงส่งและความมีเกียรติของมนุษย์ได้ถูกลดทอนลง เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในศตวรรษที่ 18 ความเป็นมนุษย์ถูกลดค่าเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยการผลิตของกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีสถานะเป็นเพียงวัตถุดิบเพื่อสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุดของมนุษย์ การสถาปนาความรู้ในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และธรรมชาติของโลกในลักษณะข้างต้น คือการปลดเปลื้องจริยธรรมและความรับผิดชอบออกจากมนุษย์ นำไปสู่การทำลายล้างธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ อิสลามชี้ว่าธรรมชาติของมนุษย์คือ “สิ่งมีชีวิตทางจิตวิญญาณ (Man is spiritual being) หรือ “มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตทางจริยธรรม (Man is ethical being)” ระบบความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในอิสลามชี้ว่า มนุษย์มีความสูงส่งแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มโนทัศน์เรื่องโลกในฐานะที่เป็น อะมานะฮ์ (ความรับผิดชอบ) มนุษย์ซึ่งมีแก่นแท้ของความเป็นฟิตเราะ (ภาวะบริสุทธิ์) และเป็นคอลีฟะฮ์ (ตัวแทน) ของอัลลอฮฺ I บนหน้าแผ่นดิน เป็นรากฐานของจริยธรรม (ethics) เพื่อการปกป้องรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

การนำผลวิจัยไปใช้ สามารถนำหลักการของอิสลามในด้านการปกป้องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความรู้ ความหมาย มโนทัศน์เกี่ยวกับมนุษย์ ธรรมชาติ ในคำสอนของอิสลามไปบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับประถม มัธยม

คำสำคัญ: ธรรมชาติของมนุษย์, อะมานะฮ์,  ฟิตเราะฮ์, คอลีฟะฮ์, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

References

Al-Attas, S. N. (1993). Islam and Secularism. ISTAC.

Ansari, M. I. (1995). Islamic Perspective on Sustainable Development. The American Journal of Islamic Social sciences, 11(3), 394.

Bakar, O. (2016). Understanding the Challenge of Global Warming in the Light of the Qur’anic Idea of Earth as Our only Planetary Home. In I. Yusuf (ed.,). A Planetary and Global Ethics for Climate Change and Sustainable Energy. (117-141). Konrad-Adenauer-Stiftung.

Bluntschli, J. K. (2000). The theory of State. Batoche Books.

Dove, M. (2006). Indigenous People and Environmental Politics. In Annual Review of Anthropology, 35, 32.

Eaton, C. G. L. (1993). Islam and the Environment. In Islamica: The Journal of the London School of Economic and Political Science, 1(2), 18-19.

Foltz, R. (2016). The Environmental Crisis and Global Violence: A matter of Misplaced values. In I. Yusuf (ed.,). A Planetary and Global Ethics for Climate Change and Sustainable Energy. (21-35). Konrad-Adenauer-Stiftung.

Kamali, M. H. (2010). The Right to Education, Work and Welfare in Islam. The Islamic Texts Society.

Nasr, S. H. (1968). The Encounter of Man and Nature: The Spiritual Crisis of Modern Man. Allen and Unwin.

Nelson, R. (2001). Economic as Religion. Penn State Press.

Sardar, Z. (1989). An Early Crescent: The Future of Knowledge and Environment in Islam (eds.). Mansell.

Wandell, B. (2012). Home Economics. San Francisco: North Point Press. Kant, I. (n.d.) What is Enlightenment. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จากhttp://www.columbia.edu/acis/ets/CCREAD/ etscc/kant.html

New York Times. nytimes/status/1395054191152934920 (สืบค้น 18 กันยายน 2564)

Voice Online. (2021, 15 Aug). ญี่ปุ่นเตือนภัยฝนระดับสูงสุด แนะอพยพด่วนเกือบ 2 คน. สืบค้นจาก https://www.voicetv.co.th/read/1qRn481iU?fbclid=IwAR33VRRLsRdj6Morwxv6mVnPJw7FtR7xZq2 p-n3xaYdAC2yLRGhGHzQxn4E

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://sdgs.nesdc.go.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2021

How to Cite

หญ้าปรัง ม. . (2021). ฟื้นฟูมาตรฐานทางจริยธรรมอิสลาม: คุณูปการของอิสลามในการแก้ไขวิกฤติสิ่งแวดล้อมและความท้าทายในการบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 85–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/256625