การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนต่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อิสมาอีล ราโอบ
  • ยุทธพงศ์ คล่องแคล่ว
  • มุสลิม ดีเยาะ

คำสำคัญ:

แผนพัฒนาชุมชน, มัสยิดเป็นฐาน, สังคมพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนเชิงนโยบายการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี และเพื่อประเมินศักยภาพการจัดทำแผนพัฒนามัสยิด

วิธีการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสนทนากลุ่ม Focus Group, SWOT และ SOAR Analysis

ผลการศึกษา จากการทดสอบความรู้ก่อนอบรมนวัตกรชุมชนโดยรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.55 คะแนน เนื่องจากคำถามที่วัดความรู้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำแผน นวัตกรชุมชนไม่เคยรับรู้มาก่อนเกี่ยวกับ SOAR Analysis แต่สำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์แต่ละชุมชนสามารถกำหนดได้ อีกทั้งจากการทดสอบความรู้หลังอบรม นวัตกรชุมชนโดยรวมได้คะแนนเฉลี่ย 8.33 คะแนน อาจเป็นเพราะว่านวัตกรได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติที่สามารถสร้างแผนได้จริง โดยมีการร่วมวิพากษ์วิจารณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้มีทักษะการจัดทำแผนและมีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม ทำให้มัสยิดมีแผนพัฒนาตนเองซึ่งประกอบไปด้วย 1) ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) วิสัยทัศน์ 4) พันธกิจ 5) ประเด็นกลยุทธ์ 6) เป้าประสงค์ และ 7) โครงการที่สามารถนำไปขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การนำผลวิจัยไปใช้ เป็นประโยชน์ในการพัฒนามัสยิดสามารถนำไปปรับใช้กับคณะกรรมการมัสยิดให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และวิสัยทัศน์ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ในการพัฒนาแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมัสยิด

คำสำคัญ: แผนพัฒนาชุมชน, มัสยิดเป็นฐาน, สังคมพหุวัฒนธรรม

References

Abdel-Fattah, R. (2020). Countering violent extremism, governmentality and Australian Muslim youth as ‘becoming terrorist’. Journal of Sociology, 56(3), 372-387.

Abbas, M. S. (2019). Producing ‘internal suspect bodies’: divisive effects of UK counter‐terrorism measures on Muslim communities in Leeds and Bradford. The British journal of sociology, 70(1), 261-282.

Bawk, N., & Preudhikulpradab, S. (2021). A roadmap for future development of leadership competencies of ABC non-profit organization, Thailand and Myanmar. ABAC ODI JOURNAL Vision. Action. Outcome, 8(2), 81-97.

Bismark, O., Kofi, O. A., Frank, A. G., & Eric, H. (2018). Utilizing Mckinsey 7s model, SWOT analysis, PESTLE and Balance Scorecard to foster efficient implementation of organizational strategy. Evidence from the community hospital group-Ghana Limited. International Journal of Research in Business, Economics and Management, 2(3), 94-113.

Chantanee, M. (2021). New Product Development from Radish of Ban Phayom Community, Wang Noi district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province, Thailand. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (TURCOMAT), 12(8), 3125-3134.

Hiransomboon, G. (2015). Industrial Administration. Bangkok: Text and Journal.

Jandang, K. (2016). Operations Management. Witty Group.

Kaewprasith, S. (2019). Improving Individual, Team and Organizational Learning Through Organization Development Interventions (ODI): A Case Study of a Private K12 School, Thailand. ABAC ODI Journal Vision. Action. Outcome, 6(1), 1.

Numsuk, A. (2014). Masjid and community development. Retrieved from https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=4&id=377

Pinyosinwat, P., & Preudhikulpradab, S. V. (2018). An initial analysis of leadership competencies for organization development intervention: a case study of educational QA agency. ABAC ODI Journal Vision. Action. Outcome, 5(2), 1.

Putri, S. U., & Aswar, A. (2020). Implementasi Pendidikan Masyarakat Berbasis Masjid untuk Muslimah di Desa Mattoanging Kabupaten Maros. WAHATUL MUJTAMA': Jurnal Pengabdian Masyarakat, 1(2), 129-141.

Ramadhan, R. R., & Mufti, A. (2021, January). Sistem Informasi Manajemen Menggunakan Metode Man And Money Pada Masjid Berbasis Java. In Semnas Ristek (Seminar Nasional Riset dan Inovasi Teknologi) (Vol. 5, No. 1).

Rosskam, E. (2018). Using participatory action research methodology to improve worker health. In Unhealthy Work (pp. 211-228). Routledge.

Swangjang, K., & Kornpiphat, P. (2021). Does ecotourism in a Mangrove area at Klong Kone, Thailand, conform to sustainable tourism? A case study using SWOT and DPSIR. Environment, Development and Sustainability, 1-26.

Thongsri, N., Shen, L., & Bao, Y. (2019). Investigating factors affecting learner’s perception toward online learning: evidence from ClassStart application in Thailand. Behaviour & Information Technology, 38(12), 1243-1258.

Wahab, F. (2021). Effectiveness and consequences of counterterrorism strategies in Pakistan: A critical appraisal of National Action Plan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2021

How to Cite

ราโอบ อ. ., คล่องแคล่ว ย. ., & ดีเยาะ ม. . (2021). การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนต่อการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้มัสยิดเป็นฐาน ในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี . วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 64–72. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/255972