การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮ์ สำหรับศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา
  • อับดุลรอแม สุหลง
  • ยามีละห์ โต๊ะแม

คำสำคัญ:

วิชาอัลฟิกฮ์, การเรียนการสอน, ตาดีกา

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอัลฟิกฮ์ของครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และ 2) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮ์ของครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป

วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครูผู้สอนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง ทั้งหมด จำนวน 35 คน โดยเครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอัลฟิกฮ์ของครู

ผลการศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนรายวิชาอัลฟิกฮ์ของครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่าระดับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอัลฟิกฮ์ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ   ส่วนสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮ์ สำหรับศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่าศูนย์การศึกษาอิสลามอิสลามประจำมัสยิดบางศูนย์ไม่มีหลักสูตรสถานศึกษา ขาดความรู้ความเข้าใจในตัวหลักสูตร การออกแบบการสอนและการใช้เทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของรายวิชา และทักษะในการสร้างสื่อการสอน

การนำผลวิจัยไปใช้ ได้ทราบถึงสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮ์ของครูศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ให้มีคุณภาพต่อไป

คำสำคัญ:  วิชาอัลฟิกฮ์,  การเรียนการสอน, ตาดีกา

References

Ministry of Education. (2019). Pra’rach banyat kansuksa haeng chat (chabab thi 4) Pho.So. 2562 [National Education Act (No. 4), 2019]

Mitranan, C., Prasertsin, A. and Lopprasert, A. (2016). Kānsāng rūbbāeb kānchadkānsuksā khongsūn kānsuksā Islām pra’cham masyid (tadika) nāi sām changwad chāidāen pāktāi [The Construction of the Educational Management Model of Mosque-Based Islamic Educational Centers (TADIKA) in Three Southern Border Provinces]. The Far Eastern University, 3(10), 155-172.

Buasri, T. (2556). Trisdī la’ Kān Phatnā Rūbbāeb kāncadkān Rianrū [Theory and development of learning management model]. Arawan Kān Pim.

Dulyarat, B.(1999). Kichkam kānrīan kānsōn singwaedlōmsuksā ra’dab mattayumsuksā [Environmental education teaching activities secondary]. Prince of songkla university.

Haengyama, M. (2019). Kān phattanā taksa’ lae’ teknik kān chadkān rianrū samrab krū sūn kānsuksā Islām pra’cham masyid (tadika) nāi sām changwad chāidaen pāktāi [The Development of Learning Management Skills and Techniques for Teachersof Mosque-based Islamic Educational Center in Three Southern Border Provinces]. Journal of Yala Rajabhat University, 3(14), 408-416.

Dechakup, P. and Yindeesuk, P. (2014). Withī Wittayākān La’ Sārt Tuapai [Methodology and General Science]. Pattana Kunnapap Wichakān Camkad.

Weasoh, S., Mama’, A. and Chemama’, N. (2012). Kān suksā sahēt thī sungphun to kanāen sōb I-NET khong nakrīan chan islāmsuksā thōnton pīthī 6 chan islāmsuksā ton klāng lae’ chan islāmsuksā tonplāi pithi 3: koranī suksa changwad narātiwāt [A Study of the causes affecting the I-NET exam scores of students in Islamic studies at the beginning of the 6th year, in the middle of the 3rd year and in the end the 3rd year of Islamic studies: a case study in narathiwat province]. National Institute of Educational Testing Service (Public Organization).

lubukdeng, A. (2016). States and Problems of Arabic Teaching in Mosque-based Educational Center (TADIKA) in Chanae District, Narathiwas Province. [Master’s Thesis]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11087

Chi-heam, H. (2014). States and Problems of the Process of Using Teaching Aids in Islamic Studies of Primary School Teachers in Satun Province. [Master’s Thesis]. PSU Knowledge Bank. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9518

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2021

How to Cite

เฮงยามา ม., สุหลง อ. ., & โต๊ะแม ย. (2021). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาอัลฟิกฮ์ สำหรับศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 73–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/255965