พื้นที่ชีวิต (Living space): สถานการณ์ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิม จากพฤติกรรมการดื่มสุราของสมาชิกครอบครัวในจังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น สาขาอิสลามศึกษา วิทยาลัยชุมชนสตูล, สำนักพิมพ์ AM Book Point
  • อับดุลเล๊าะ หมัดอะด้ำ ปาตานีฟอรั่ม
  • อาริฟ หมานระเด็น สำนักพิมพ์ AM Book Point

คำสำคัญ:

สุรามือสอง, พื้นที่ชีวิต, ผู้หญิงมุสลิม, สุรา, คุณภาพชีวต

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ชีวิต ประเด็นสถานการณ์ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิมจากพฤติกรรมการดื่มสุราของสมาชิกในครอบครัว

วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบ The Phenomenon of multiple realities โดยใช้วิธี Narrative Approach ในการเล่าเรื่อง เพื่อสะท้อนภาพพื้นที่ชีวิตผ่านปฏิบัติการชีวิตประจำวันของหญิงมุสลิมที่ต้องเผชิญสถานการณ์ปัญหาผลกระทบของสุรามือสอง โดยเก็บข้อมูลจากผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวดื่มสุรา จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ตามแนวทางวิจัยเชิงคุณภาพตามวัตถุประสงค์การวิจัย และการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล (Quality of data) ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า (Methodological Triangulation) ได้แก่ ด้านข้อมูล(data triangulation) คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มานั้นถูกต้องหรือไม่ วิธีการตรวจสอบ คือการตรวจสอบแหล่งของข้อมูล ได้แก่ เวลา หมายถึง  ถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะเหมือนกันหรือไม่ เช่น ถ้าผู้วิจัยเคยเก็บข้อมูลในช่วงเช้า ข้อมูลที่เก็บในช่วงกลางวันหรือกลางคืนจะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ สถานที่ หมายถึง  ถ้าข้อมูลต่างสถานที่กันจะเหมือนกันหรือไม่ เช่น หากเก็บข้อมูลที่บ้านของผู้ให้ข้อมูล กับในสถานที่อื่น เช่น สำนักงานของผู้วิจัย หรือห้องประชุม ข้อมูลที่ได้ต่าง หรือเหมือนกันหรือไม่ และแหล่งบุคคล หมายถึง การเปลี่ยนบุคคลผู้ให้ข้อมูล ในประเด็นเดียวกัน ข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่ เช่น เคยสัมภาษณ์ผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวดื่มสุรา กับการสัมภาษณ์คนอื่นในครอบครัวของผู้หญิง ผู้นำชุมชน หรือผู้นำศาสนา ข้อมูลที่ได้จากต่างบุคคลเหมือนกันหรือไม่ ด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) เป็นการใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายเพื่อรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกัน โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก กับการสนทนากลุ่มหรือการสังเกต ข้อมูลที่ได้จะเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ และด้านผู้ศึกษาวิจัย (Investigator Triangulation) เป็นการตรวจสอบโดยการใช้ผู้เก็บข้อมูลคนละบุคคลกัน เช่น การเก็บข้อมูลโดยหัวหน้าโครงการวิจัย นักวิจัยร่วม หรือผู้ช่วยวิจัย และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้ เหมือนหรือต่างกันหรือไม่

ผลการศึกษา พบว่า ผู้หญิงมุสลิมเผชิญสถานการณ์ปัญหาคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย ผู้หญิงโดนทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงเป็นประจำ รวมทั้งโดนคุกคามโดยผู้ดื่มสุรา 2) ด้านจิตใจ ผู้หญิงมีปัญหาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจทั้งจากการกระทำของผู้ดื่มสุราและความทุกข์ใจที่มีความห่วงใยต่อผู้ดื่มสุรา 3) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้หญิงรู้สึกว่านอกจากสังคมไม่สามารถปกป้องเธอแล้ว สังคมยังทำให้เธอรู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัว จึงปลีกตัวไม่อยากมีส่วนร่วมกิจกรรมใด ๆ ในสังคม 4) ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงขาดความปลอดภัย ไร้อิสระในการร่วมกิจกรรมกับผู้คนรอบข้าง อาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษ ทั้งทางเสียง กลิ่น และอื่น ๆ

การนำผลวิจัยไปใช้ บทความวิจัยนี้มุ่งเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงมุสลิมที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เป็นคนตัวเล็กในสังคม ได้ส่งเสียงเพรียกให้คนภายนอกรับรู้สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ชีวิตที่ผู้หญิงต้องเผชิญในปฏิบัติการชีวิตประจำวัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ ได้แก่ หน่วยงานในชุมชน สามารถนำข้อมูลวิจัยไปใช้ในการพัฒนาระบบในการดูแลช่วยเหลือผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวดื่มสุรา โรงพยาบาล/หน่วยงานสาธารณะสุข ควรสามารถนำข้อมูลวิจัยไปใช้ในการเปิดช่องทางในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ชีวิตของผู้หญิง และอิสลามประจำจังหวัด/องค์กรด้านศาสนา ควรนำข้อมูลจากงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประสานความร่วมมือหรือส่งต่อที่เป็นระบบระหว่างองค์กรด้านศาสนาและหน่วยงานที่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญ รวมทั้งควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้หญิงในหน่วยงานซึ่งร่วมทำหน้าที่ในการรับฟัง ดูแลกลุ่มเปราะบางที่ประสบปัญหาเนื่องจากการดื่มสุราของบุคคลใน โดยหน่วยงาน/องค์กรที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลกลุ่มเปราะบางควรมีกลไกและกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ

คำสำคัญ : สุรามือสอง, พื้นที่ชีวิต, สุรา, ผู้หญิงมุสลิม, คุณภาพชีวิต

Author Biographies

ไมซาเร๊าะ ขุนรักษ์ หมานระเด็น, สาขาอิสลามศึกษา วิทยาลัยชุมชนสตูล, สำนักพิมพ์ AM Book Point

ปริญญาโท

การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม

อับดุลเล๊าะ หมัดอะด้ำ, ปาตานีฟอรั่ม

ปริญญาโท

การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม

อาริฟ หมานระเด็น , สำนักพิมพ์ AM Book Point

ปริญญาตรี

อิสลามศึกษา

References

Center of Alcohol Studies. (2013). Thailand’s Alcohol Drinking Consumption Situations and Impacts in 2013. International Health Policy Program Foundation, Ministry of Public Health.

Chusri, W., Prommontree, J., & U-senyang, S. (2018). Effects of Alcohol drinking on Alcohol Dependence Patients Admitted to Hospitals in Songkhla Province. Center of Alcohol Studies, Thai Health Promotion Foundation. Friends of Women Foundation. (2006). Happiness in Alcohol-Free Communities. Pimdeekarnpim Company Limited.

Jitsawang, S. (2010). Relationship of Alcohol Drinking and Crime. Chulalongkorn University. Jung-in, K. & Pinitsoontorn, S. (2017). Drinking Behavior and Impacts to Families of Alcoholic Drinkers Who Received Treatment in Thanyarak Hospital, Udon Thani. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 5(3), 498 – 499.

Laeheem, K. (2016). Factors Affecting Domestic Violence Risk Behaviors Among Thai Muslim Married Couples in Satun Province. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37(3), 182-189.

Laeheem, K. (2016). The Causal, Impact and Guidelines to Solve the Domestic Violence Problems between Thai Muslim Spouses in Satun Province. Prince of Songkla University.

Laeheem, K. (2018). The Action Research on Solving Behaviors in not Accordance with the Islamic Way of Muslim Youth with Risky Types of Behavior in the Three Southern Border Provinces of Thailand. Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University.

Langputeh, N. & Laeheem, K. (2015). Family Background of Muslim Spouses through Domestic Violence Behavior: A Case Study in Muang District, Satun. Parichart Journal, Thaksin University, 28(3) (special edition), 190 – 212.

Mahatnirunkul, S. (1995). Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items). Suanprung Psychiatric Hospital.

Namlabut, S. & Lamyai, W. (2018). A school-based study on harm to others due to alcohol consumption among youth in Nong Khai Province. Center of Alcohol Studies, Thai Health Promotion Foundation.

Sattar, Y., Sahoh, I. & Sidi, A. (2021). Debate on Political Leadership and Muslim Women Politicians in the Deep South of Thailand. Journal of Islamic Studies Prince of Songkla University, 10(2), 1.

Srihatai, N. (2018). Muslim Adolescences and The Modern World: A Case Study on Muslim Adolescents in Public Universities in Bangkok. An Undergraduate Individual Case Study, Department of Anthropology, Faculty of Archaeology, Silpakorn University.

Visalo, P. (1993). History of Alcohol Consumption in Thailand. National Health Foundation.

Waleewong, O., Jankhotkaew, J., Chaisong, S., & Thamarangsi, Th. (2015). The Harm to Others from Drinking in Thailand: A WHO/Thai Health International Collaborative Research Project. International Health Policy Program.

Waleewong, O., Thamarangsi, Th., & Jankhotkaew, J. (2014). Alcohol’s Harm to Others in Thailand: Concept, Situation and Gap in Knowledge. Journal of Health System Research, 8(2), 111-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2021

How to Cite

หมานระเด็น ไ. ข., หมัดอะด้ำ อ., & หมานระเด็น อ. (2021). พื้นที่ชีวิต (Living space): สถานการณ์ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิม จากพฤติกรรมการดื่มสุราของสมาชิกครอบครัวในจังหวัดสตูล. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 42–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/255641