ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • Abdullateh Saleah Faculty of Islamic Studies and laws, Fatoni University
  • แวยูโซะ สิเดะ
  • รอซีดะห์ หะนะกาแม
  • ซัลมา แดเมาะเล็ง

คำสำคัญ:

นวัตกรรมชุมชน, คุณภาพชีวิต, สังคมพหุวัฒธรรม, มัสยิด

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒนธรรมโดยมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก อิหม่าม จำนวน 5 คน คอเต็บ จำนวน 5 คน บิลาล จำนวน 5 คน และตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด จำนวน 10 คน จำนวนทั้งหมด 25 คน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดจากพื้นที่จังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒธรรมโดยมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานีที่เป็นพื้นที่เป้าหมายที่ดำเนินการศึกษา พบว่า 1. มัสยิดอัลมุฟลีฮีน คือ การช่วยเหลือต่างศาสนิกในสังคมพหุวัฒนธรรม 2. มัสยิดรายอปัตตานี คือ ประวัติศาสตร์มลายูที่รุ่งเรืองในอดีต 3. มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ (กรือเซะ) คือ เอกลักษณ์ความเป็นมลายูและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในสังคมพหุวัฒนธรรม 4. มัสยิดอีบาดุรรอฮมาน (บราโอ) คือ การศึกษาอิสลามสู่สันติในสังคมพหุวัฒนธรรม และ 5. มัสยิดนัจมุดดีน คือ ความสามัคคีในสังคมพหุวัฒนธรรม

การนำผลวิจัยไปใช้ เป็นแนวทางให้กับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี คณะกรรมการประจำมัสยิด อิม่าม คอเต็บ บิลาล และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมัสยิดในการปรับรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการมัสยิดต่อไปในอนาคตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อสังคมมุสลิม

คำสำคัญ: นวัตกรรมชุมชน,  คุณภาพชีวิต,  สังคมพหุวัฒธรรม,  มัสยิด

References

Jehmama, A. Yisunsong, A. (2018). The Role of the Imam in the Administration and Management of Provision of Mosque based Educational Centers (Tadika). Journal of Islamic Studies, 6(2), 17-30.

Khamdi, D. (1998). Sasanasad. Kasetsart University.

Mandech, C., Putsukee, T., Thongfhua, S. & Langputeh, S. (2019). Model of Masjids in Mobilization of Taqwa Communities. Journal of Yala Rajabhat University, 14(2), 222-231.

Maseng, A., Adam, S. (2015). The Role of Imam in Developing Ethics and Morality for the Members of Mosque in Narathiwas Province. Thesis Master of Arts in Islamic Studies, Prince of Songkla University.

Narachasho, Y., Acatarsho, T., Thoninjang, J., & ChoChui, M. (2018). An Analytical Study of the Principle of Coexistence of Multicultural Society in Thailand: A Case Study of Buddhist and Muslim Community at Thakarong’s Community, Banpom Sub-district, Ayutthaya district, Ayutthaya province. Journal MJR Puttsat Paritad, 1(1), 40-61.

Saleah, A., Yisunsong, A. (2011). State of being a learning organization in Yala islamic university. Thesis Master of Education in Islamic Educational Administration and Management, Prince of Songkla University.

Sukhawatthano, S., Phramethivorayan, & Lamoonpak, S. (2021). Living together of Peoples in Multicultural Societies of Thailand : A Case Study of Mueang District, Suphanburi Province. Journal of Palisueksabuddhaghosa Review, 7(1), 176-189.

Taye, I. (2012). The Religious, Educational and Administrative Roles of Imams in Narathiwat Province. Thesis Master of Education in Community Development Education, Prince of Songkla University.

Thitadhammo, M. Pangthrap, K. Kamol, P. (2019). Living together of Peoples in Multicultural Societies of Thailand : A Case Study of Multicultural Society of Muang District, Chiang Mai Province. Journal Maha jula, 6(2), 46-59

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-12-2021

How to Cite

Saleah, A., สิเดะ แ., หะนะกาแม ร., & แดเมาะเล็ง ซ. (2021). ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมชุมชนด้านคุณภาพชีวิตของสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมัสยิดเป็นฐานในจังหวัดปัตตานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 29–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/254626