การสร้างวัฒนธรรมสันติภาพในอินเดียของเซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่าน
คำสำคัญ:
เซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่าน, วัฒนธรรมสันติภาพ, อินเดียบทคัดย่อ
จุดประสงค์ บทความวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมสันติภาพในสังคมพหุอินเดียของท่านเซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่านผ่านคำถามสำคัญคือ ท่านเซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่านแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมพหุของอินเดียได้อย่างไร?
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลทางวิชาการหลากหลายรูปแบบทั้งในและต่างประเทศเพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมสันติภาพของเซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่าน อีกทั้งสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการชาวไทยจำนวน 10 คน ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการเมือง การปกครอง สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งปวงปราชญ์อินเดีย
ผลการศึกษา พบว่า 1) เซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่านได้นำเสนอแนวคิดและแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมสันติภาพผ่านการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2) สองดวงตาของอินเดีย 3) ความเป็นหนึ่งเดียว 4) เซคคิวลาร์แบบอินเดียเพื่อความสมานฉันท์ระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม
การนำผลวิจัยไปใช้ แนวคิดของเซอร์ ซัยยิด อะหมัด ข่านสามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมสันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวถือเป็นบทเรียนแห่งความสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมอินเดีย ซึ่งสังคมไทยควรเรียนรู้แนวคิดดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
References
Ahmad, A. (2006). Sir Syed Ahmad Khan on Education. Aligarh Muslim University Press.
Bhagwan, V. (1999). Indian Political Thinkers. Atma Ram and Sons.
Gandhi, R. (2000). Understanding Muslim Mind. Penguin.
Government of India. (1951). University Education Commission Report (1948-1949). Minister of Education.
Guha, R. (2012). Makers of Modern India. Penguin.
Husain, I. (2004). “Sir Syed’s Perception of Islam.” In Abdul Ali and Syed Ahsan (Eds.), Contribution of Sir Syed Ahmad Khan to Islamic Studies (pp. 94-109). Aligarh Muslim University Press.
Khan, G. A. (2004). Sir Syed Ahmad Khan and Maulana Muhammad Qasim Nanautavi: Educational Views. In Abdul Ali and Syed Ahsan (Eds.), Contribution of Sir Syed Ahmad Khan to Islamic Studies (pp. 149-170). Aligarh Muslim University Press.
Khan, S. A. (2007). History of the *Bijnor* Rebellion (1858). (Translated by Hafeez Malik and Morris Dembo). http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00urdu/asbab/bijnor/index.html
Michel, T. (2001). On Building a Culture of Peace. In Mucha-Shim Arquiza and M. Abdus Sabur (Eds.), Interfaith Conference on the Culture of Peace: Celebrating A.M.A.N.’s Ten Years of Relevance in International Solidarity,Networking and Peace-Work (pp. 42-53.). Asian Muslim Action Network.
Mukem, A. (2015). Sir Syed Ahmad Khan (1817-1898): Transition of violence to education system.
Walailak Journal of Social Science, 8(1), 35-61. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wjss/article/view/94579/73948
Nizami, K. A. (1991). Secular Tradition at the Aligarh Muslim University. Aligarh
Muslim University Press.
Qasmi, A. (2005). Political Intellectualism Versus Muslim Reformers: Shah Waliullah and Sir Syed Ahmad Khan. In Abdul Ali and Syed Ahsa (Eds.), Contribution of Sir Syed Ahmad Khan to Islamic Studies (pp. 134-148). Aligarh Muslim University Press.
United Nations. (1999). Resolution adopted by the General Assembly: 53/243 A. Declaration on a
Culture of Peace. September 13, 1999.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา