ประวัติความเป็นมาของชนชาติยิวในมิติอัลกุรอาน

ผู้แต่ง

  • Muhammaddawood Solhan คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อับดุลรอนิง สือแต Ph.D. (West Asian Politics) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิชาอิสลามศึกษา (ตะวันออกกลางศึกษา) คณะวิทยาการอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การอรรถาธิบาย, ความสัมพันธ์, บนีอิสรออีล, นบีนูห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเน้นการศึกษาแนวทางและการอรรถาธิบาย อายะฮฺที่: 3 จากซูเราะฮฺอัลอิสรออฺ ของบรรดาอุละมาอ์มุสลิมีนในอดีต และข้อมูลที่ปรากฏในคัมภีร์     โตราห์และคัมภีร์ใบเบิล และประวัติศาสตร์ (Historical Research) โดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description) ในการนำเสนอผลการศึกษา

จากการศึกษาพบว่า:

  • บนีอิสรออีล คือ วงศ์วานของอิสรออีล ผู้ที่สืบทอดเชื้อสายเผ่าพันธุ์ของผู้ที่เอกองค์อัลลอฮฺ /  ได้บรรทุกไว้ในเรือกับนบีนูห์ ' ซึ่งไม่ใช่เชื้อสายจากนบีนูห์ '
  • การอรรถาธิบายของบรรดาอุละมาอ์มุสลิมีนในอดีต คือ:

Mujahid bin Jabr - และ Al-Thawriy - กล่าวว่า:  (ذرية من حملنا مع نوح) ความว่า: “โอ้ เผ่าพันธุ์ของผู้ที่เราได้บรรทุก (ไว้ในเรือ) กับนูห์เอ๋ย” พวกเขาคือ บนีอิสรออีล และ คนอื่นอีกด้วย

Ibnu A’adil    กล่าวว่า: บางกลุ่มจะอ่านว่า “ซุรริยะตุ”  (ذرية من حملنا مع نوح) หมายถึง พวกเขา คือ เผ่าพันธุ์ของผู้ที่เราได้บรรทุก (ไว้ในเรือ) กับนูห์

Al-Suyutiy    กล่าวว่า:  (ذرية من حملنا مع نوح) ความว่า: “โอ้ เผ่าพันธุ์ของผู้ที่เราได้บรรทุก (ไว้ในเรือ) กับนูห์เอ๋ย” การอ่านว่า “ซุรริยะตะ”  (ذرية من حملنا مع نوح) หมายถึง โอ้ เผ่าพันธุ์ของผู้ที่เราได้บรรทุก (ไว้ในเรือ) กับนูห์เอ๋ย

  • คัมภีร์โตราห์ (ปฐมกาล 11:10-26, 25:19-26, 32:22-27, 32:28, และ 35:23-26) คือ แหล่งที่มาของทัศนะที่เห็นว่า “ยิว” อ้างถึงบุตรของจาคอบที่มีชื่อว่า “ยูดาห์” และจาคอบ คือ อิสราเอล ดังนั้น บนีอิสราเอล คือ วงศ์วานจาคอบ ซึ่งมีเชื้อสายจากนบีอิบรอฮีม ' เป็นต้นตระกูล

ดังนั้น ชนชาติยิวคือผู้สืบวงศ์วานว่านเครือเผ่าพันธุ์ของผู้ที่พระเจ้าเอกองค์อัลลอฮฺ/ ได้บรรทุกไว้ในเรือกับนบีนูห์ ' และ อิสราเอล ก็ไม่ใช่นบียะอฺกูบ ' ที่มีเชื้อสายจากนบีอิบรอฮีม ' เป็นต้นตระกูล

คำสำคัญ: การอรรถาธิบาย ความสัมพันธ์ บนีอิสรออีล นบีนูห์ '

 

 

References

Al-A’ainiy, Badruddin. (2016). U’uwmdatuh Al-Qariy syarh Sashih Al-Bukhariy ( عمدة القاري شرح صحيح البخاري). Lebanon: Dar Al-kutub Al-Ilmiyah.

Al-Albaniy, Muhammad Nasiruddiy. (n.d). วงศ์วานของอิสรออีลและทัศนะที่เกี่ยวข้อง” สืบค้นวันที่ 23/3/2016 จาก http://www.arabiandna.com/vb/showthread.php?t=5350

Al-Naisaburiy, Abu Abdulloh Al-Hakim. (1997). Al-Mustadrak A’la Assahihain ( المستدرك على الصحيحين). Lebanon: Dar Al-kutub Al-Ilmiyah.

Al-Thawriy, Sufyan Ibn Masrouq Al-Thawriy. (1983). Tafsir Al-Thawriy (تفسير الثوري). Lebanon: Dar Al-kutub Al - Ilmiyah.

Al-Thabariy, Muhammad Ibn Jarir Al-Thabariy. (n.d). Jami‘u al-bayan fi t’awil ay al-Qur’an (جامع البيان في تأويل آي القرآن). Lebanon: Dar al-ma’aarif.

Al-Suyutiy, ‘Abdurrahman Ibn Abi Bakr. (2004). Al-Itqan fi ‘Ulum Al-Quran (الإتقان في علوم القرآن). Beirut: Dar Al-kitab Al-arabiy.

Arabicbible, (n.d). Pharisees, Essenes และ Sadducees. สืบค้นวันที่ 25/3/2016 จาก

https://ar.arabicbible.com/islam/faq/christ-jesus/2170-q21.html

Games, Wongseree. (n.d). คัมภีร์โตราห์ และ คัมภีร์ใบเบิลแปลไทย. สืบค้นวันที่ 27/3/2016 จาก https://www.neoxteen.com/bible.html

Ibnu A’tiyah Al-andalusiy, Abdulhaq. (n.d). Al-Muharir Al-Wajiz fi Tafsir Al-Kitab Al-Aziz (المحرر الوجيز في تفسير الكتاب العزيز). Beirut: Dar ibn hazm.

Ibnu A’sakir, Ali bin Al-Hasan. (1995). Tarikh Madinah Dimashq (تاريخ مدينة دمشق). Beirut: Dar Al-Fikr.

Ibnu A’dil, U’mar bin Ali. (1998). Alubab fi U’lum Al-Kitab (اللباب في علوم الكتاب). Beirut: Dar Al-Kutub Al-Ilmiyah.

Mujahid bin Jabr, Mujahid bin Jabr. (1989). Tafsir Al-Imam Mujahid bin Jabr (تفسير الإمام مجاهد بن جبر). Cairo: Dar Al-fikr Al-Hadithah.

Na‘ana‘ah, Ramziy Na‘ana‘ah. (1970). Al-Isra‘iiliat wa ‘atharuha fi kutub Al-Tafsir (الإسرائيليات وأثرها في كتب التفسير). Beirut: Dar Al-Qalam.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2020

How to Cite

Solhan, M., & สือแต อ. . (2020). ประวัติความเป็นมาของชนชาติยิวในมิติอัลกุรอาน. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 38–46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/245815

ฉบับ

บท

บทความวิจัย