ผลการปฏิบัติการใช้โปรแกรมการเรียนรู้อิสลามเพื่อพัฒนาพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเรียนรู้อิสลาม, พฤติกรรมตามวิถีอิสลาม, เยาวชนมุสลิมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติการใช้โปรแกรมการเรียนรู้อิสลามเพื่อพัฒนาพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนและหลังการปฏิบัติการ กลุ่มปฏิบัติการเป็นเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้เทคนิคการศึกษานำร่อง (Pilot Study) จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินวัดระดับพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบพฤติกรรมตามวิถีอิสลามของเยาวชนมุสลิมกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทุกด้าน ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมมีระดับพฤติกรรมตามวิถีอิสลามสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
References
เกษตรชัย และหีม. (2560). เยาวชนมุสลิมกับพฤติกรรมตามวิถีอิสลาม. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พีบาลานซดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ทิศนา แขมมณี. (2544). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน: การศึกษาพหุกรณี. รายงานวิจัย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพหรมคุณากรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต. (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมล คี ทอง
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2562). Global Change. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2560). รายงานประจำปี 2550 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 12 พ. ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
Adler, M. (1988). Reforming Education. New York: Collier book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา