มนุษย์ในอิสลาม

Authors

  • อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต Lecturer, Islamic Education Programme, Department of Islamic Studies, College of Islamic Studies, PSU

Keywords:

Human, Islam

Abstract

จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้มีความมหัศจรรย์และความลี้ลับซ่อนเร้นอยู่มากมาย ถึงแม้มนุษย์จะใช้ความเพียรพยายามศึกษาค้นคว้าสักเพียงใดก็มิอาจที่จะล่วงรู้สิ่งดังกล่าวได้ทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านี้บางครั้งอยู่เหนือสติปัญญาที่จะรับรู้ได้ การกําเนิดมนุษย์และความพยายามศึกษาหาคําตอบก็เป็นความมหัศจรรย์และความลี้ลับอีกอย่างหนึ่ง เพื่อจะเปิดเผยความลี้ลับของมันให้แก่ชาวโลกทั้งหลาย สําหรับมุสลิมแล้วความลี้ลับดังกล่าว อัลลอฮ์ได้ทรงเฉลยให้เมื่อพันสี่ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บรรดาอายะฮ์แรกๆ ที่พระองค์ทรงประทานแก่มุฮัมหมัด (ขอความจําเริญและความสันติจงมีแด่ท่าน) โดยผ่านญบรีล ก็เป็นอายะฮ์ (โองการ) ที่กล่าวถึงช่วงหนึ่งแห่งวิวัฒนาการของการกําเนิดมนุษย์ พระองค์ไว้ตรัสไว้ความว่า 

          “จงอ่านด้วยพระนามของผู้อภิบาลผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงสร้างมนุษย์จาก อะลัก (ที่ยึดเหนียวอยู่กับ     มดลูก)” (96 : 1-2) 

          คําว่า อะลัก (Alaq) นั้นแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ยึดเหนี่ยวหรือเกาะกับสิ่งอื่น อาจหมายถึงมวลเล็กๆ หรือตัวอ่อนที่ติดกับผนังมดลูก (ป้อมขุนพรม, มปท : 76

          นอกจากความหมายอายะฮ์ที่ได้กล่าวข้างต้น ยังมีอีกหลายอายะฮ์ที่ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการกําเนิดมนุษย์ อายะฮ์เหล่านั้นได้บรรยายถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธ์ของมนุษยชาติ เช่น การปฏิสนธิ ธรรมชาติของสเปิร์ม การเพาะตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ได้มี บันทึกในอัล-กุรอานความว่า 

        “หลังจากนั้นเราได้บันดาลอสุจิให้เป็นอะละเกาะฮ์ แล้วเราก็บันดาลอะ ละเกาะฮ์ให้เป็นก้อนเนื้อ จากนั้นก็บันดาลก้อนเนื้อให้เป็นกระดูก แล้วให้มีเนื้อห่อหุ้มกระดูก หลังจากนั้นเราได้บังเกิดมันมาในกําเนิดอื่น (ให้เป็นมนุษย์ครบถ้วน และมีวิญญาณพร้อมซึ่งผิดกับลักษณะดั้งเดิมที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามที่กล่าวมา) แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเกียรติสูงยิ่ง ทรงเป็นเลิศที่สุดแห่งบรรดาผู้สร้าง” (23:14) 

          อายะฮ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวิวัฒนาการของการกําเนิดมนุษย์ในอัลกุรอานนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับหลักวิชาการ เพราะตามหลักวิชาการแล้วหลังจากตัวสเปิร์ม (อสุจิ) สามารถเจาะทะลุผนังของเซลล์ไข่ เซลล์ไข่ก็จะปิดตัวเองเพื่อไม่ให้สเปิร์มตัวอื่นเข้าไปอีกแม้แต่เพียงตัวเดียว หลังจากการผสมพันธุ์เกิดขึ้น หัวของสเปิร์มซึ่งเต็มไปด้วยสาร พันธุกรรมจะเจาะทะลุเข้าไปในของเหลวในเซลล์ของไข่ ต่อจากนั้นก็ค่อยๆ เข้าหาสารพันธุกรรมของผู้หญิงซึ่งอยู่ในนิวเคลียซของไข่ ต่อมานิวเคลียซของเซลล์ไข่และเซลล์ของสเปิร์ม ก็ถูกดึงเข้าหากันอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็หลอมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน ต่อมาลักษณะพิเศษตามพันธุกรรมของชีวิตใหม่ก็ถูก

 

กําหนดขึ้น ต่อมาไข่ที่ได้รับการผสมก็จะแบ่งตัวเป็นครั้งแรก จากนั้นเซลล์ทั้งสองซึ่งเต็มไปด้วยสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่ก็เคลื่อนตัวช้าๆ ไปยังมดลูก ในระยะนี้เซลล์ก็จะมีการแบ่งตัวและมุ่งหน้าไปยังมดลูกอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกันนั้นเซลล์ดังกล่าวก็ถูกห่อหุ้มด้วยเซลล์สารอาหารเพื่อช่วยในการเติบโตของมัน ตัวอ่อนที่ห่อหุ้ม เกราะที่โปร่งตาก็จะลื่นไถลเข้าสู่มดลูกอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อการฝังตัวในผนังมดลูกในอนาคต ในครั้งแรกตัวอ่อนจะสัมผัสกับมดลูกแต่ยังไม่สามารถฝังตัวได้ ต่อมาตัวอ่อนก็จะปริตัวออกมาจากเกราะและฝังตัวในผนังมดลูกในที่สุด

References

ป้อมขุนพรม, (มปท) อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์. กทม. สำนักพิมพ์วงศ์เสงี่ยม

Abdullah, Abdul Rahman, (1982) Educational Theory : a Quranic Outlook. Makkah : Umm al Qura University

Amjad, Nauman, (1992) Quranic Concept of Human Psyche. Ansory ed. Islamabad : Islamic Research Institute Press

Ansory, Zafar Afaq ed. (1992) Quranic Concept of Human Psyche. Ansory ed. Islamabad : Islamic Research Institute Press

Ashraf, Syed Ali, (1985) New Horizon in Muslim Education. Great Britain : Antony Powe Ltd

Al Attas, Syed Muhammad ed., (1979) Aims and Objectives of Islam Education. Great Britain : Hodder and Stoughton

Cowan, J.M., (1979) Arabic - English Dictionary. New York : Speaker Language Inc.

Husein, Syed Sajjaj ; Ashraf, Syed Ali, (1979) Crisis in Muslim Education. London : Wiiliam Clowes and Son Limed.

Bucaille, Maurice, (1987) Asal usul Manusia. RahmaniTrans. Selangor : Percetakan Sinar Suria.

Lunggulung, Hasan, (1991) Asas Pendidikan Islam. Kuala Lumpur : Pustaka Press.

Downloads

Published

02-09-2019

How to Cite

ณรงค์รักษาเขต อ. (2019). มนุษย์ในอิสลาม. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 1(1), 71–86. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/233635

Issue

Section

Academic Articles