อิสลามศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์
คำสำคัญ:
อิสลามศึกษา, ประเทศฟิลิปปินส์, มักตับ, มัคราซะฮ์บทคัดย่อ
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือที่เรียกว่า กลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ส่วนมุสลิมเป็นชนกลุ่มใหญ่อันดับสองของประเทศซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะมินดาเนา ในเขต Cotabato, Sula, Maguindanao และบางส่วนในกรุงมะนิลา ชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงมะนิลาคือ ชุมชน เกียโปะ ในชุมชนแห่งนี้มีมัสยิดใหญ่แห่งหนึ่งเรียกว่า Golden Mosque นอกจากนี้ยังมีชาว
มุสลิมอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเกาะลูซอนแต่ก็มีจํานวนไม่มากนัก
ศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนฟิลิปปินส์โดยผ่านพ่อค้าวาณิชย์ชาวอาหรับ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก่อนที่ประเทศฟิลิปปินส์จะตกเป็นเมืองขึ้นของสเปนเสียอีก (สเปนเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1542) นับตั้งแต่นั้นมา ชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์เริ่มสนใจและรู้จักศาสนาอิสลามมากขึ้น จนกระทั่งเกิดสถาบันการศึกษาอิสลามในรัชสมัยของ สุลต่าน Sharieful Hashim Abubakar โดยใช้ระบบการสอนในรูปแบบของมักตับ (Maktab) ก่อนการพัฒนาเป็นมัคราซะฮ์ (madrasah) ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกมุสลิมในยุคนั้น
References
Esmula K. Wadja “History of Islamic studies in Philippines" Paper presented for International Seminar on Islamic Studies in the ASEAN Region : History Approach and Trend. College of Islamic Studies. Prince of Songkla University June 25-28, 1998.
Majul Caesar “The Contemporary Muslim Movement in the Philippines” Mizan Press, 1973 ------------------------- “The Problems of Islamic Education at the University level in the Philippines Paper presented for International Seminar on Islamic Studies in ASEAN Higher Institution of Learning. National University of Malaysia.December 1-4, 1978
Regional Islamic Dawah Council of Southeast Asian and Pacific “Muslam Almanac : Asia-Pacific Al-Nahdah. Kuala Lumpur Malaysia, 1996
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา