ซะกาฮฺ : ปัญหาของความเข้าใจและแนวทางการจัดการ
Keywords:
ซะกาฮฺ, การจัดการ, ความเข้าใจAbstract
คําสอนในทางสังคมเศรษฐกิจที่สําคัญของอิสลามคือการลงทุนในทรัพย์สิน (Al Amwal) อันเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่จะก่อให้เกิดผลผลิตงอกงามและเขยิบฐานะทางเศรษฐกิจของสังคมให้ดีขึ้น ดังนั้นการสนับสนุนให้ใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective) จึงเป็นบรรทัดฐานอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจแห่งอิสลามและซะกาฮฺก็เป็นนโยบายทางการเงินอีกด้านหนึ่งที่ตอบสนอเป้า หมายเหล่านี้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนั้นฐานะภาพของซะกาฮุจึงมีความสําคัญยิ่งในทฤษฎีทางการเงินในเชิงมหภาค (Macro Monetary Theory) ในระบบการคลัง (Public Finance) ของรัฐอิสลาม 1
อัลลอฮฺ (ศุบห์) ทรงบัญญัติเรื่องซะกาฮฺ2และกําหนดผู้มีสิทธิได้รับ3 ไว้อย่างชัดแจ้ง ในอัลกุรอาน รอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลฯ) ได้นําไปสู่ภาคปฏิบัติเป็นครั้งแรก4 ด้วยการกําหนดลักษณะและปริมาณของทรัพย์สิน วิธีเก็บ อัตราการจ่ายตลอดจนพิกัดซะกาฮฺ (Nisab) ซึ่ง เมื่อผู้ใดครอบครองแล้วภาระของการจ่ายซะกาฮฺ (Burden of Zakatation) ก็จะตกแก่ผู้นั้น ตามลักษณะของทรัพย์สิน
ถึงแม้รายการทรัพย์สินที่ต้องจ่ายซะกาฮฺในสมัยของท่านนบี (ศ็อลฯ) จะมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจที่มีความสลับซับซ้อนในปัจจุบัน แต่ความสําคัญของการเก็บ (Collection) และการจ่าย (Distbursment) จะตกอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐหรือองค์กรที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อทําหน้าที่นี้โดยตรง5 ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการซะกาฮฺจะได้รับการฝึกฝนและมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ เพราะก่อนที่ท่านนบี (ศ็อลฯ) จะส่งตัวแทน ไปเก็บซะกาฮฺ ท่านมิเพียงแต่จะบอกอัตราการจ่าย ลักษณะของทรัพย์สิน ฯลฯ เพียงอย่างเดียวหากแต่ยังแนะนําถึงวิธีกําหนดและเก็บตลอดจนคุณธรรมที่พวกเขาต้องแสดงออกอีกด้วย6 เป็นการชี้นําเพื่อเป็นแบบอย่างแก่รัฐอิสลามตลอดจนชุมชนมุสลิมภายหลังถึงปัญหาของความเข้าใจผ่านกระบวนการศึกษาเกี่ยวกับซะกาฮฺอย่างครอบคลุมและแนวทางการจัดการโดยผ่านสถาบันจัดตั้งอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ความพยายามในการเขียนบทความในลักษณะที่เป็นโครงร่าง นี้เป็นการมองสถาบันซะกาฮฺจากฐานบนสู่ล่างโดยเล็งผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเก็บและจ่ายซะกาฮฺที่เป็นตัวแปรสำคัญยิ่งต่อ การผลักดันทรัพยากรต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตทางสังคมมากกว่าจะมองซะกาฮฺว่าเป็นเพียงหลักการที่กําหนดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องจ่ายเพื่อพ้นภาระทางศาสนาเพียงอย่างเดียวโดยไม่คํานึงถึงปรัชญาอันเป็นเป้าหมายที่ห้อมล้อมสถาบันที่สําคัญยิ่งนี้
References
Dr.M.Hasan-uz-Zaman : The Economic Function of the Early Islamic State, I.I.P.1981, p. 134 - 139, 146 - 153, 152, 153 - 158, 159
Muhamad Nejatullah Sddigi, Muslim Economic Thinking, A survey of contemporaly literature. The Islamic Foundation, 1981, p 23 - 24, 61 - 63
S.A.Siddigi, Public Finance in Islam, SH.Muhammad Ashraf, 1979, p 11, 27
Abu Ubayd ibn Sallam, Kitab Al-Amwal (Cairo : alMaktabah al Tijariyah al Kubrad, A.H. 1353)
Afzal - ur - Rahman M.A. :Economic Doctrines of Islam : เล่ม 3 Islamic Publication 1976, p 199, 214 - 230
M.A.Mannan, Islamic Economic, Theory and Practice, SH, Muhammad Ashraf 1980 p. 289 - 293
อรุญ บุญชม, หะดีษ ซอเฮียฮฺ, เล่ม 2, ส. วงศ์เสงี่ยม, น. 252
Dr.Syek Muhammad Yusuf Qardawi, Musykilatul Fakri Wa-Kaifa Aalajamal Islam (แปลเป็นภาษาอินโดนีเซีย โดย) Umar Fanany, B.A. Problema Kemeskinan, Apakah Konsep Islam, PT Bina Ilmu, 1977 p. 159
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
All articles Published in The Journal of Islamic Studies are author’s opinions, and not the responsibility of the Faculty of Islamic Sciences nor the editorial board. However any citation should be referred to the journal.