ความเชื่อของมุสลิมในอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เกี่ยวกับการทำนาย และการดูดวง
คำสำคัญ:
ความเชื่อของมุสลิม, การทำนาย, การดูดวง, อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อของมุสลิมในอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีที่มีต่อการทำนายและการดูดวง โดยศึกษาถึงความถูกต้องและสอดคล้องกับคำสอนอิสลามหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1- เพื่อศึกษาหลักการอิสลามเกี่ยวกับการทำนายและการดูดวง และ 2- เพื่อศึกษาความเชื่อของมุสลิมในอำเภอยะหริ่ง ที่มีต่อการทำนาย และดูดวงว่าสอดคล้องกับคำสอนอิสลามหรือไม่?, วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำนายและการดูดวงจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และทัศนะของบรรดาปวงปราชญ์ที่สำคัญ ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และ 2) วิจัยเชิงสำรวจโดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับความเชื่อของกลุ่มตัวอย่าง (ชาวบ้านที่เป็นมุสลิมในอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี) ที่มีต่อการทำนาย และการดูดวง ด้วยแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยเกี่ยวกับหลักการอิสลามและความเชื่อของชาวบ้านที่เป็นมุสลิมในอำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีในเรื่องการทำนาย และการดูดวง สรุปดังต่อไปนี้:
- การเชื่อในเรื่องการทำนาย การดูดวง เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมทุกคน เนื่องจากมันเป็นเหตุไปสู่การทำชิรก์ (การตั้งภาคี) ต่ออัลลอฮฺในที่สุด และอิสลามต่อต้านนักทำนาย และหมอดูดวง
2. ความเชื่อมุสลิมในอำเภอ ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีในเรื่องการทำนาย และการดูดวง ส่วนใหญ่สอดคล้องกับหลักการคำสอนของศาสนาอิสลาม
References
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
มูฮัมมัด เหมอนุกูล. (2536). คู่มือหมอดู. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา. .(2546) ตารางเทียบพยัญชนะอาหรับ –ไทย. ปัตตานี:วิทยาลัยอิสลามศึกษา
Abadiy, S. (2000). Aunu al-Mabud. (عون المعبود). Beirut: Dar Ihya’ al-Turath al-‘arabiy.
Abu Da’ud. (2000). Sunan Abi Da’ud. (سنن أبي دأود). Beirut: Dar Ihya’ al-Turath al-‘arabiy.
Al-Bukhariy, M. (1992). Sahih al-Bukhariy. (صحيح البخاري) Beirut: ‘Alam al-Kutub. & (1992). Dar al-Kutub al-‘ilmiyah. (1997). Demashq: Dar faiha’ and Al-Riyad: Dar al-Salam.
Al-Mundhiriy, Z. (1998). Tahdhib al-Targhib wa al-Tarhib min al-ahadith al-Sihah (تهذيب الترغيب والترهيب من الأحاديث الصحاح) 3rd ed, Beirut: Dar Ibn Kathir.
Al-‘Uthaimin, M. (1998). al-Qaul al-Mufid ‘ala Kitab al-Tauhid. (القول المفيد على كتاب التوحيد). KSA : Mu’assasah al-Risalah.
Ibn Hajr, H. (1993). al-Zawajir ‘an iqtiraf al-Kaba’ir (الزواجر عن إقتراف الكبائر) Beirut: Dar al-Ma‘rifah. & (1993). 2d ed, Beirut : Dar al-Kutub al-Ilmiyah.
Ibn Manzur, M. (1990). Lisan al-‘Arab. (لسان العرب). Beirut: Dar Sadir.
Ibrahim Mustafa,et al. (1972). al-Mu‘jam al-Wasit (المعجم الوسيط) (2nd ed.). Istanbul:al-Maktabah al-Islamiyah.
Muslim, N. (1972). al-Jami’ al-Sahih / Sahih Muslim. (الجامع الصحيح المسمى صحيح مسلم), Beirut: Dar al-Jail. & Dar al-Afaq al-Jadidah. (2nd ed.). Beirut: Ihya’ Turath al-‘Arabiy.
Salih, F. (1998). al-Irshad ila Sahih al-i‘tiqad Wa al-Rad ‘ala Ahli shirk Wa al-Ilhaad. (الإرشاد إلى صحيح الاعتقاد والرد على أهل الشرك والإلحاد). (3rd ed.). al-Riyad: Maktabah Dar al-‘asmah.
Sulaiman ibn Abdullah ibn Muhammad ibn Abdulwahab. (1995).Taisir al-‘Aziz al-Hamid fi Sharh kitab al-Tauhid. (تيسير العزيز الحميد في شرح كتاب التوحيد) KSA : al-Ri’asah al-‘Ammah li al-Buhuth.
_______& (1995). Al-Qahirah : Maktab al-Turath al-Islamiy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา