ความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • Ekkarin Tuansiri อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • Anwar Koma PhD. Candidate, International Relations, Dokuz Eylul University

คำสำคัญ:

พุทธ-มุสลิม, ความเปราะบาง, กระแสหวาดกลัวอิสลามในประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาภววิทยาของความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในประเทศไทยระหว่างปี 2018-2019 โดยเก็บข้อมูลจากการประชุมเฉพาะกลุ่มในสี่ภูมิภาคทั้งประเทศ งานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มชาวพุทธและมุสลิมเป็นความท้าทายแห่งทศวรรษนี้ที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมอย่างเป็นระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นผ่านการปฏิสัมพันธ์และการรับรู้เรื่องราวระหว่างเพื่อนร่วมชาติที่นับถือศาสนาและมีเชื้อชาติที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ของกลุ่มอาจจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและสถานที่ จากความร่วมมือไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง ในช่วงระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมโดยรวมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วง เช่น ภาคใต้ตอนล่างไม่เพียงประสบปัญหาความรุนแรงในแนวดิ่งเท่านั้นแต่ยังขยายทิศทางไปสู่ความขัดแย้งแนวระนาบด้วย ในขณะที่ ภาคเหนือและอีสานต่างก็มีการต่อต้านสัญลักษณ์ของความเป็นมุสลิมอย่างตื่นตัว เช่นเดียวกับในภาคใต้ตอนบนและภาคกลางที่มีการเรียกร้องการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้จะอธิบายว่าเหตุใดความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงมีความเปราะบางมากขึ้น พื้นที่ใดที่มีความน่าเป็นห่วงมากที่สุด และความขัดแย้งมีนัยยะสัมพันธ์อย่างไรกับพื้นที่แต่ละพื้นที่

References

ดอน ปาทาน, เอกรินทร์ ต่วนศิริ, และ อันวาร์ กอมะ. (2018). สัญญานความหวาดกลัวอิสลามในประเทศไทย. ปัตตานี: ปาตานีฟอรั่ม.

นาถจำนง, ทองแถม. (2016). มุสลิมในอาณาจักรอยุธยา : ถิ่นฐาน. สยามรัฐ, 5 October 2016. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/3704.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2017). นิธิ เอียวศรีวงศ์. ความแปลกหน้าของมุสลิม. มติชนสุดสัปดาห์ (blog). สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_57152.

———. (2017). นิธิ เอียวศรีวงศ์ : ความแปลกหน้าของมุสลิม (จบ). มติชนสุดสัปดาห์ (blog), 13 October 2017. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_58920.

ผกาวดี สุพรรณจิตวนา. (2561). ความไม่คุ้นเคยกับการต่อต้านการสร้างมัสยิดในพื้นที่ภาคเหนือของไทย’. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 24, (2), 3–33.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2531). กลุ่มชาติพันธุ์: ชาวไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ: กองทุนสง่ารุจิระอัมพร,

อาลี เสือสมิง. )2553). ‘โต้ตอบหนังสือ ตาลาติ๊ต่ำปง (ภาคที่ ๑). สืบค้นจาก http://alisuasaming.org/main/?p=1042.

เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2015). โลกทัศน์ของปัญญาชนมุสลิมกับประชาธิปไตย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 21, (3), 87–124.

เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2553). การเมืองแห่งอัตลักษณ์: ความหลากหลายและพลวัตของมลายูมุสลิมปัตตานีในจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

Anderson, Benedict. (2006). Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, Revised Edition. London: Verso.

Beyrer, C. & Kamarulzaman, A. (2017). Ethnic Cleansing in Myanmar: The Rohingya Crisis and Human Rights. The Lancet, Retrieved from https://doi.org/10.1016/S0140-6736(17)32519-9.

Imtiyaz, Y. (2007). Faces of Islam in Southern Thailand. East-West Center Washington Working Papers. Washington: East-West Center.

Jerryson, Michael. Appropriating a Space for Violence: State Buddhism in Southern Thailand. Journal of Southeast Asian Studies 40, no. 1 February 2009: 33–57.

Jerryson, M. & Juergensmeyer, M. (2010). eds. Buddhist Warfare. New York: Oxford University Press.

Jerryson, M. K. Buddhist F. (2012). Religion and Violence in Southern Thailand. Oxford University Press.

McCargo, D. (2009). Thai Buddhism, Thai Buddhists and the Southern Conflict. Journal of Southeast Asian Studies 40, no. 1.

Suwachun, P. P. (2562). เตรียมเสนอว่าที่นายกรัฐมนตรีทูลกระหม่อมฯดังนี้ค่ะ... - Pasika Pat Suwachun. Facebook, https://www.facebook.com/suwachun/posts/2693465574026955

Patani Forum. (2019). มือถือของแวรุ่ง : การใช้มือถือของวัยรุ่นชายแดนใต้, Retrieved from https://www. facebook.com/PATANIFORUM/videos/393206221415648/.

Premsrirat, S. & et a. (2004). Ethnolinguistic Maps of Thailand. Bangkok: Office of the National Culture Commission, 2004.

Putnam, R. D., Robert L. & Raffaella Y. N. (1994). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton University Press.

Yahprung, A. (2014). Islamic Reform and Revivalism in Southern Thailand: A Critical Study of the Salafi Reform Movement of Shaykh Dr Ismail Lutfi Chapakia Al-Fatani (from 1986-2010). PhD. Dissertation, International Islamic University Malaysia.

Yusuf, I. (2007). The Southern Thailand Conflict and the Muslim World. Journal of Muslim Minority Affairs 27 (2),319–339.

———. 2018). Three Faces of the Rohingya Crisis: Religious Nationalism, Asian Islamophobia, and Delegitimizing Citizenship. Studia Islamika 25 (3),503–42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2019

How to Cite

Tuansiri, E., & Koma, A. (2019). ความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างชาวพุทธและมุสลิมในสังคมไทย. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(2), 14–26. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/233521