บทบาทของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ต่อการทำความเข้าใจหลักวะสะฏียะฮ์อิสลามและการปรับใช้ในสังคมพหุวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
หลักวะสะฏียะฮ์อิสลาม, สังคมพหุวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีต่อการทำความเข้าใจหลักวะสะฏียะฮ์อิสลามและการนำมาปรับใช้ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะจงแบบไม่มีโครงสร้าง (Non-Structured interview) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์วะสะฏียะฮ์ประธานหลักสูตรและผู้รับผิดชอบฝ่ายกิจการนักศึกษาและนักศึกษานำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาบรรยายและเชื่อมโยงกับหลักวิชาการ
ผลการศึกษาพบว่า วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักวะสะฏียะฮ์อิสลามและการนำมาปรับใช้ในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อยกระดับนักศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมยังมีความสงบสุขและสันติ โดยมีการจัดอบรมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับอิสลามกับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม เช่น การสัมมนาวิชาการเรื่องอัลวะสะฏียะฮ์จากหลักการสู่การปฏิบัติในสังคมพหุวัฒนธรรม การจัดงานสัมมนาอิสลามศึกษานานาชาติ เรื่อง การศึกษาอิสลาม: พลังแห่งการขับเคลื่อนในการพัฒนา และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จัดอบรมนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยโดยมีกิจกรรมต่าง ๆ และสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวะสะฏียะฮ์พลังแห่งสันติภาพ ตลอดจนสร้างศูนย์วะสะฏียะฮ์ และนำหลักวะสะฏียะฮ์มาใช้ในหลักสูตรซึ่งเป็นวิชาแกนของคณะที่นักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนนอกจากนี้ยังมีการจัดโครงการ International Islamic Studies – Networking (IISN)
References
วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. (2560). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. ปัตตานี:วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สุธิรัส ชูชื่น. (2555). พหุวัฒนธรรมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ...ทางเลือกหรือทางรอด? วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สิงหาคม 8(2),
อับดุลเลาะ หนุ่มสุข. (2557). หลักดุลยธรรมในอัลกุรอาน. เอกสารการสัมมนา อัลวะสะฏียะฮ์ : จากหลักการสู่การปฏิบัติในสังคมพหุวัฒนธรรม งาน มอ.วิชาการ วันที่ 18 สิงหาคม 2557. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
อัลวะสะฏียะฮ์ : จากหลักการสู่การปฏิบัติในสังคมพหุวัฒนธรรม. (2557). งาน มอ.วิชาการ วันที่ 18 สิงหาคม 2557. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Al-Jawhari, I.H. (1990). al-Sihah. Beyrut: Dar al- ‘Ilmi li al-Malayiin.
Al-Qaradhawi, Y. (1999). Al-Khasais al-Amah li al-Islam. N.P. : Muasasah al-Risalah.
Al-Ruhayli, W. (nd). Al-Wasatiyyah MatlabanSyar anwahadhariyan. N.P. : n.p.
Al-Saqar, M. (1427H.). al-Ta ayush ma a ghair al-Muslimin fi al-Mujtama‘ al-Muslim. Makkah
IbnJariral-Tabari, M. (nd ). Tafsir al-Tabari. N.P. : Daral-Ma ‘arif
Ibnkasir, I.U. (2002).Tafsir al-Qur ‘an al- ‘Azim. N.P. : Dar Tayyibah
Ibn Manzur, M. (nd). lisan al- Arab. Beyrut: n.p.
มาหามะเฟาซาน ซาจิ. นักศึกษาแลกเปลี่ยน IISN University sain Islam Malaysia (USIM) ประเทศมาเลเซีย. สัมภาษณ์ไว้ วันที่ 29 ธันวาคม 2561 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ยาฮารี กาเซ็ม. )2561). ฝ่ายดูแลกิจกรรมนักศึกษา. วิทยาลัยอิสลามศึกษา. สัมภาษณ์ไว้ วันที่ 22 ธันวาคม 2561 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
อาเซ็ม อัชชะรีฟ. (2561). ประธานหลักสูตร อิสลามศึกษาหลักสูตรนานาชาติ. วิทยาลัยอิสลามศึกษาสัมภาษณ์ไว้ วันที่ 26 ธันวาคม 2561 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
อาลี สาเมาะ. (2561). หัวหน้าศูนย์วะสะฏียะฮ์. สัมภาษณ์ 11 ธันวาคม 2561 ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ศูนย์ข่าวภาคใต้. (2560, 23 กรกฏาคม). เปิดฉากสัมมนาอิสลามนานาชาติ ระดมปราชญ์ศาสนาถกปมสันติสุข- พหุวัฒนธรรม. สำนักข่าวอิสรา. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/58246- open_58246.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา