การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน, รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไป, สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา การบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไป โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา การบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไป โดยใช้วิจัยเป็นฐานระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา การบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐาน กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐานโดยภาพรวมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (80/80) โดยมีค่าเท่ากับ 84.69/86.63
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐาน คะแนนหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบูรณาการศาสตร์อิสลามกับศาสตร์ทั่วไปโดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 6 ด้าน นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก (µ =4.36, σ = 0.66)
References
กลอยใจ เชยกลิ่นเทศ. (2554). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบ Research-based Learning in Food Science and Technology Division. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน: การวิจัยปฏิบัติการของครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตรสําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม
วิรดี เอกรณรงค์ชัย. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเชิงวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศศิธร อินตุ่น. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา CI 2301 หลักการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสาร, 9(4), 191-199.
สุพจน์ อิงอาจ. (2556). การจัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานวิชาการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้นระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์. (2539). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยทางการศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา. (2559). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา (ฉบับปรับปรุง 2559). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Beyea, S. & Farley, J. K. (1996). Teaching Baccalaureate nursing students to use research. Western Journal of Nursing Research. 18(2), 1-6.
Dekker, H. & Wolff, S. W. (2016). Re-inventing Research-based teaching and learning. Erasmus University Rotterdam: Netherland.
Nikolova E., Stefka, G. and Williams, Douglas F. (1997). Research-based learning for undergraduates: A model for merger of research and undergraduate education. Journal on Excellence in College Teaching. 8, 77-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา