กระบวนการยุติธรรมทางเลือก: สภาพการดำเนินการระงับข้อพิพาททางเลือก ของประชาชนในพื้นที่ชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
กระบวนการยุติธรรมทางเลือก, การระงับข้อพิพาททางเลือก, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการระงับข้อพิพาททางเลือกในชุมชนของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยผสานวิธี การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,100 ชุด และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ของผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา จำนวน 30 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์หาค่าครอนบัคแอลฟ่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาททางเลือกในรูปแบบการเจรจาต่อรองและการไกล่เกลี่ย โดยมีส่วนร่วมการระงับข้อพิพาทในบทบาทของผู้ดำเนินการหรือคนกลาง ซึ่งผลการดำเนินการปรากฏออกมาในลักษณะที่สามารถยุติข้อพิพาทได้เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังพบว่าการระงับข้อพิพาททางเลือกในชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้รูปแบบการไกล่เกลี่ยเป็นหลัก โดยผ่านคนกลางซึ่งเป็นผู้นำชุมชนหรือผู้นำศาสนาอันเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม แนวปฏิบัติในการยุติความขัดแย้งมีความแตกต่างตามบริบทชุมชนและลักษณะของข้อพิพาท ประกอบด้วย การไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม การไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักหุกุมฟากัต การไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักบารมี การไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักความเป็นพี่น้องในอิสลาม และการไกล่เกลี่ยโดยใช้หลักบูรณาการ จึงเสนอแนะได้ว่าภาครัฐควรพัฒนาศักยภาพของผู้นำศาสนาและผู้นำในชุมชนให้มีความรู้ด้านกฎหมายและมีทักษะในการเจรจาประนีประนอมเพื่อระงับข้อพิพาท เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบยุติธรรมทางเลือกในชุมชนให้มีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นท์.
มะรอนิง สาแลมิง และคณะ (2554) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครอบครัวและมรดก ตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้, ส่วนนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
มะรอนิง สาแลมิง และคณะ (2555). การพัฒนาระบบและศักยภาพการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่าด้วยครอบครัว และมรดกตามบทบัญญัติฯ. รายงานวิจัย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
ศศิมล ช่วยดำรง และสมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า (2558). สาเหตุความล่าช้าในการดำเนินคดีอาญาของศาลยุติธรรมภายในจังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อรพินธ์ สุวัณณปุระ (2551). การจัดการความขัดแย้งและอาชญากรรมโดยชุมชนบ้านแม่ยางส้าน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Black, A. (2001). Alternative dispute resolution in Brunei Darussalam: The blending of imported and traditional processes. Bond Law Review, 13(2), 4.
Cesare Beccaria. (1872). An essay on crimes and punishments. By the Marquis Beccaria of Milan. With a Commentary by M. de Voltaire. A New Edition Corrected. (Albany: W.C. Little & Co., 1872). Retrieved 13/11/2560 from the World Wide Web: http://oll.libertyfund.org/titles/2193
Faizal Kamarudin. (2014). The development of an effective and efficient dispute resolution processes for strata scheme disputes in Peninsular Malaysia. Faculty of Law Queensland University of Technology.
Nora A. H., Sa'odah A. & Umar A. O. (2013). Alternative Dispute Resolution (ADR) In Islam. 2nd edition,IIUM Press.
Syed Khalid Rashid. (2008). Peculiarities & Religious Underlining of ADR in Islamic Law. keynote address in conference on Mediation in Asia Pacific: Constraints and Challenges, Australia.
Umar A. O. (2015). Shari‘ah court-annexed dispute resolution of three commonwealth countries – a literature review, International Journal of Conflict Management, 26(2), 214-238.
United Nation Office of Drugs and Crime. (2007). Training Manual on Alternative Dispute Resolution and Restorative Justice. Retrieved 13/11/2560 from http://www.unodc.org/documents/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา