วิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน ที่มีผลต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

ผู้แต่ง

  • ทิวากร แย้มจังหวัด นักศึกษาปริญญาเอก (สาขาวิชาอิสลามศึกษา) วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อับดุลรอนิง สือแต Ph.D. (ตะวันออกกลางศึกษา) อาจารย์, วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะเด่น, อุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน, การแก้ปัญหาความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

อุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน เป็นเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมลำดับที่ 3 ของอาณาจักรอิสลาม คุณลักษณะอันโดดเด่นของท่านเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนนำให้ท่านสามารถปกครองอาณาจักรอิสลามในยุคสมัยดังกล่าวจนประสบความสำเร็จในหลายด้าน วัตถุประสงค์ของงานชิ้นนี้เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของท่าน โดยถอดบทเรียนจากเหตุการณ์สำคัญที่ได้ถูกกล่าวในชีวประวัติของท่าน ด้วยกับคุณลักษณะอันโดดเด่นทำให้ท่านสามารถนำพาสังคมฝ่าวิกฤติแห่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นไปได้ จากการศึกษาพบว่าคุณลักษณะอันโดดเด่นของท่าน ประกอบด้วย เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสุขุมรอบคอบ มีความยืดหยุ่นและประนีประนอม มีความอ่อนโยน ให้อภัย มีความละอาย มีจิตใจสาธารณะ มีความกล้าหาญ มีความอดทน และมีความยุติธรรม จากคุณลักษณะอันดีงามเฉพาะตัว เป็นส่วนสำคัญในการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ โดยเฉพาะในปลายยุคสมัยของการปกครองของท่าน เพียงช่วงระยะเวลาประมาณ 12 ปี ที่ท่านอยู่ในตำแหน่ง อาณาจักรอิสลามสามารถขยายอาณาเขตและเข้าพิชิตแคว้นเมืองต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง นำสาส์นแห่งอิสลามไปมอบให้แก่มวลมนุษยชาติอย่างกว้างใหญ่ไพศาล พร้อมทั้งมีพัฒนาการทางด้านกองทัพทหาร และการเมืองการปกครองจนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วทุกมุมโลก

References

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. 2542. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺอัลมุเนาวะเราะฮฺ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

Abdullah Qadiriy. 1986. al-Kifaat al-Idāriyah fī Siyasat al-Shar’iyah (الكفاءة الإدارية في السياسة الشرعية) Jeddah : Dār al-Mujtamah.

Abdulaziz al-Humaidiy. 1998. al-Tarīkh al-Islamiy Mawakhif wa ’Ibar. (التاريخ الإسلامي مواقف و عبر). al-Iskhandāriyah : Dār al-Da’awah.

Ahmad Ibn Abdullah al-Asfihāniy. n.d. Hilyatul Awliyā’a wa Thabākhāt al-Asfiyā’a (حلية الأولياء و طبقات الأصفياء). Bairūt : Dār al- Kutub al-’Almīyah.

Ahmad Ibn Hanbal. 1995. Musnad al-’Imām Ahmad Ibn Hanbal (مسند الإمام أحمد بن حنبل). Bairūt : Dār ’Ihyā’ al-Turāth al-‘Arabiy.

Ahmad Ibn Hanbal. 1999. Fadhāil al-sahābah (فضائل الصحابة). Sa’audiyah : Dār Ibn al-Jawziy.

Ahmad Ibn Hanbal. 1988. al-Zuhd (الزهد). Bairūt : Dār al-Kitāb al-‘Arabiy.

Ahmad Ibn Ali Ibn Hajar. 1995. Al-Isābah fī Tamyīz al-sahābah. (الإصابة في تمييز الصحابة). Bairūt : Dār al- Kutub al-’Almīyah.

Ali Muhammad al-Sallābiy. 2003. Uthmān Ibn Affān shaksīyatihi wa ’asrihi (عثمان بن عفان شخصيته و عصره). United Arab Emirate : Maktabah al-sahābah.

al-Bukhāriy. Muhammad Ibn ’Ismā‘īl. 1997. Sahīh al-Bukhāriy (صحيح البخاري). al-Riyādh : Dār al-Salām.

Ibn Kathīr. 1988. al-Bidāyah wa al-Nihāyah (البداية و النهاية). Dār al- Raiyān.

Ibn Taimiyah. n.d. Minhāsh al-Sunnah (منهاج السنة). Muassasah Kurtubah.

Ibn Sa‘ad. n.d. al-Thabakhāt al-Kubrā (الطبقات الكبرى). Bairūt : Dār Shādir.

Muhammad Ibn Yahya al-Andalusiy. 1969. al-Tamhīd wa al-bayān fī Muktal al-Shahīd Uthman (التمهيد و البيان في مقتل الشهيد عثمان). Dār al-Thakhafah al-Dawhah.

Muhammad ‘Abdurrahman al-Mubarakfuriy. n.d. Tuhfah al-Ahwazi bi Sharh Sunan al-Tirmidhiy (تحفة الأحوذي بشرح سنن الترمذي). Nash Muhammad ‘Abd al-Muhsin al-Kutubi.

Sādiq ‘Urjūn. 1990. Uthmān Ibn Affān (عثمان بن عفان). al-Dār al-Sa’audiyah.

Yahya Ibn Ibrahīm al-Yahya. 1996. al-Kilāfah al-Rāshidah wa al-Dawlah al-Amawiyah min Fathi al-Bāriy (الخلافة الراشدة و الدولة الأموية من فتح الباري). Dār al-Hijrah.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2016

How to Cite

แย้มจังหวัด ท., & สือแต อ. (2016). วิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของเคาะลีฟะฮฺอุษมาน อิบนฺ อัฟฟาน ที่มีผลต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(2), 59–73. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/170085