รูปแบบการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยโดยกระบวนการลูกขุนพลเมือง

ผู้แต่ง

  • สุทธิศักดิ์ ดือเระ LL.M.(International Law), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี Ph.D.(Political Science),ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการปกครอง, งหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย, ลูกขุนพลเมือง

บทคัดย่อ

เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาสำคัญหนึ่งของไทย มีความพยายามจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ปัญหาในหลายวิธี รวมถึงการนำเสนอการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษในหลากหลายรูปแบบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรูปแบบการวิจัยที่มีชื่อว่า คณะลูกขุนพลเมือง หรือ Citizens Jury ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Jefferson Center สหรัฐอเมริกา มาทดสอบกับภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป กระบวนการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่ง เป็นการออกแบบกระบวนการทั้งหมดภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งคัดสรรจากผู้มีบทบาทสำคัญจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสุ่มคัดเลือกคณะลูกขุนพลเมืองหรือตัวแทนภาคประชาชนที่จะพิจารณาตัวแบบการปกครอง ระยะที่สอง เป็นกระบวนการรับฟังและปรึกษาหารือ โดยคณะลูกขุนพลเมืองรับฟังและซักถามข้อมูลเกี่ยวกับการปกครองรูปแบบต่าง ๆ จากพยาน ก่อนจะอภิปรายอย่างอิสระกระทั่งหารือร่วมกันสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการศึกษาพบว่า ข้อเสนอแนะของคณะลูกขุนพลเมืองที่มีต่อรูปแบบการปกครองที่เหมาะสม จากแถลงการณ์ของคณะลูกขุน มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ ให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเว้นด้านการทหาร การต่างประเทศ การเงิน และคงเหลือไว้เพียงการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคมาขึ้นกับส่วนท้องถิ่นแทน ส่วนผู้บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนทุกภาคส่วนก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะจัดขึ้นใน 2 ระดับ คือ ระดับมณฑล 1 คน เป็นผู้ว่าการมณฑล ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ และระดับจังหวัด 4 คน เป็นผู้ว่าจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีก 4 อำเภอให้ยกฐานะเป็นจังหวัด

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. 2558. ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประชาธิปไตย: นโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์สุขศาลา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).

ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี และสุกรี หลังปูเต๊ะ. 2551. โครงการศึกษาการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดที่มีหลายชาติพันธุ์: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เสนอต่อศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้. 2554. โครงการศึกษาพัฒนาต้นแบบการบริหารรัฐกิจและการปกครองแบบพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวิธีการทดสอบกับภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป เสนอต่อโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย

Kurian, George Thomas. 2011. The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.

Srisompob and Duncan McCargo. “A Ministry for the South: New Governance Proposals for Thailand’s Southern Region,” Contemporary Southeast Asia, Volume 30, Number 3 (December 2008), 403-428.

Wakeford, Tom. 2011. Citizens Juries: a radical alternative for social research. Department of Sociology, University of Surrey 2002 Available from http;//sru.soc.surrey.ac.uk/SRU37.html. (Accessed July 3, 2011).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2016

How to Cite

ดือเระ ส., & จิตร์ภิรมย์ศรี ศ. (2016). รูปแบบการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยโดยกระบวนการลูกขุนพลเมือง. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(2), 46–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/170079