อัตลักษณ์แห่งระเบียบวิธีทางประวัติอิสลาม

ผู้แต่ง

  • MuhammadRoflee Waehama ปร.ด. (อิสลามศึกษา) อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • Kader Sa-ah Ph.D. (Islamic Studies) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์อิสลาม, ระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์, ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยทางประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงในอดีตของมนุษย์ผ่านระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตที่ถูกต้องใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ประวัติศาสตร์อิสลามก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ทั่วไปซึ่งมีระเบียบวิธีและกระบวนการสืบค้นหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากประวัติศาสตร์อิสลามมีอัตลักษณ์เฉพาะโดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ในยุคต้นของอิสลามซึ่งเกี่ยวโยงกับศาสนาอย่างใกล้ชิดจึงมีระเบียบวิธีบางอย่างที่แตกต่างกับระเบียบวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ทั่วไป บทความนี้ประสงค์ที่จะนำเสนอลักษณะเฉพาะบางประการของระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์อิสลามใน 4 ประเด็นหลัก คือการแบ่งระดับหลักฐาน การตรวจสอบข้อเท็จจริงของหลักฐาน การวิพากษ์หลักฐานตลอดจนการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์อิสลาม จากการศึกษาพบว่าระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์อิสลามมีความแตกต่างกับประวัติศาสตร์ทั่วไปในบางประการ แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างดังกล่าวนั้นยังคงรักษากรอบของความเป็นวิชาการที่ไม่ทำให้ความน่าเชื่อถือของประวัติศาสตร์อิสลามลดน้อยถอยลงแต่ประการใด

References

วรรณา คำปวนบุตร.(2559). การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์.สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นจาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/the_ study_ of_history/index.html

อดิศร ศักดิ์สูง. (2552). ความคิดทางประวัติศาสตร์และวิธีวิทยาวิจัย. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ

Abdullah, Yusri Abdul Ghani. (2004). Historiografi Islam Dari Klasik Hingga Modern. Budi Sudrajat M.A., translator. Jakarta: Raja Grafindo Persada.

Bajaj, Satish K. (1998). Research Methodology in History. New Delhi: Anmol Publications PVT. Ltd.

Grine, Fadila; et al. (2013). Islamic Historical Writing: A Critical Analysis. Middle-East Journal of Scientific Research. 13(3): 303-313.

Al-Hilwani, Sa’d Badir. (1999). Madkhal Ilā ‘Ilm al-Tarikh wa Manāhij al-Bahth Fihi (مدخل إلى علم التاريخ ومناهج البحث فيه). N.p.

Ibn ‘Abdullah Ala Hamid, Sa‘d. (2000). Turuq al-Takhrij al-Hadith (طرق التخريج الحديث). Riyad: Dar ‘Ulum al-Sunnah.

Ibn Ishaq, Muhammad. (1988).Siyar (PeygamberTarihi). Istanbul: Akabe.

Muslim, Abu al-Husayn Muslim Ibn al-Hajjaj al-Qushayri al-Naysaburi. (1991). Sahih Muslim (صحيح مسلم). Muhammad Fu’ad ‘Abdulbaqi, tahqiq. Vol.I-V. Beirut: Dar al-Kutub al-‘Ilmiyah.

Nu’mani, AllamahShibli. (2001). Sirat-un-Nabi: The Life of the Prophet (P.B.U.H.). M. TayyibBudayuni, translator. Vol.I. New Delhi :Rightway Publications.

Al-Sharif, Muhammad Ibn Musa. (2008). Dawabit Manhajiyah fi ‘Ard al-Sirah al-Nabawiyah (ضوابط منهجية في عرض السيرة النبوية). www.altareekh.com (accessed May 5, 2011).

Togan, A. ZekiVelidi. (1985). Tarihte Usul. Istanbul: Enderun Kitab evi.

Al-‘Umari, AkramDiya’. (1994). Al-Sirah al-Nabawiyah al-Sahihah (السيرة النبوية الصحيحة). Vol.I-II. Al-Madinah al-Munawwarah: Maktabah al-‘Ulum wa al-Hikam.

White, Ali. (2009). An Islamic Approach to Studying History: Reflections on Ibn Khaldun’s Deterministic Historical Approach. Intellectual Discourse. Vol. 17, No 2, p 221-244.

Yatim, H. Badri. (1997). Historiographi Islam. Jakarta: PT Logos Wacana Ilmu.

Zayn al-'Abdin, Muhammad Surur Ibn Nayif. (1988). Dirasat fi al-Sirah al-Nabawiyah (دراسات في السيرة النبوية). Birmingham: Dar al-Arqam.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2016

How to Cite

Waehama, M., & Sa-ah, K. (2016). อัตลักษณ์แห่งระเบียบวิธีทางประวัติอิสลาม. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(2), 33–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/170075