กระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อับดุลเลาะ อับรู M.Ed. (Islamic Educational Administration and Management), Academic Service Officer, Office of the Private Education Commission, Pattani Province
  • สุไลมาน อาแว ศษ.ม. (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), นักวิชาการศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ซะกาต, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน ประกอบด้วยผู้แทนคณะกรรมการชมรมอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นจังหวัดปัตตานี อำเภอละ 1 คน ส่วนผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ได้แก่ วาลีย์อัมรีย์จังหวัดปัตตานี ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี รองประธานฝ่ายชัรอีย์ รองประธานฝ่ายเศรษฐกิจ และเหรัญญิกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประเด็นที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการและขั้นตอนการจัดเก็บซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 เจ้าของทรัพย์มาจ่ายซะกาตโดยตรง ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และกรณีที่ 2 การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จัดเก็บซะกาต (อามิล) แต่ละพื้นที่โดยวะลีย์อัมรีย์สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ส่วนกระบวนการและขั้นตอนการแจกจ่ายซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี หลังจากอามิลได้ดำเนินการจัดเก็บแล้ว กำหนดให้อามิลแบ่งซะกาตออกเป็น 8 ส่วน โดยให้แบ่งตามสัดส่วนแก่ผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตแต่ละพื้นที่ ส่วนของประเภทที่ไม่มีผู้รับสิทธิซะกาตให้ส่งมอบแก่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีเพื่อจะได้บริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีคือ ควรมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการซะกาต การแต่งตั้งผู้เป็นอามิลซะกาต การจัดทำบัญชีซะกาต การจัดตั้งศูนย์รวมที่เป็นเอกเทศ (บัยตุลมาล) การประสานงานและการให้ข้อมูลย้อนกลับ การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับซะกาต บทบาทและอำนาจหน้าที่ของอามิล การบริหารจัดการซะกาตในส่วนที่ไม่มีเจ้าของ เป็นต้น

References

ตายูดิน อุสมาน และคณะ. (2546). การจัดการซะกาตของชุมชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ตายูดิน อุสมาน และคณะ. (2545). การบริหารมัสยิดในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

มะดาโอะ ปูเตะ และคณะ. (2554). การบริหารจัดการซะกาตฟิตเราะฮฺของอิหม่ามมัสยิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษามัสยิดอัลอัจญ์ริดดาอิม อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส. คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.

รอมลี โต๊ะตันหยง. (2550). การจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2540). พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 65 ก วันที่ 9 พฤศจิกายน 2540.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. (2541). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย.

อัลมาดีนะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2550). รายงานวิชาการกองทุนซะกาต. เอกสารวิชาการหมายเลขที่ 8. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มาร์ค เอ็ม พรินติ้ง.

สุนทร วงศ์หมัดทอง. (2547). ระบบซะกาตและการประยุกต์ใช้ในสังคมมุสลิม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. ในรายงานวิชาการกองทุนซะกาต. เอกสารวิชาการหมายเลขที่ 8. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มาร์ค เอ็ม พรินติ้ง.

บรรจง บินกาซัน. (2547). สารพันปัญหาว่าด้วยซะกาต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อัลอะมีน.

อัตตุวัยญิรีย์, มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม. (2008). บทบัญญัติว่าด้วยซะกาตฟิฏเราะฮฺ. แปลโดยอุษมาน อิดรีส. สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด.

อับดุลเลาะ หนุ่มสุข. (2550). แนวทางการจัดระบบซะกาตในยุคสมัยต่างของอิสลาม. สืบค้นจาก http://www.islammore.com.

อับดุลเลาะ อับรู. (2549). เศรษฐศาสตร์อิสลาม. ปัตตานี : วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อับดุลเลาะ อับรู. (2547). รายงานผลการสัมมนาวิชาการเรื่องบทบาทของภาษีซะกาตกับการพัฒนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อับดุลเลาะ อับรู. (2543). ซะกาฮ: ปัญหาของความเข้าใจและแนวทางจัดการ. วารสารวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กันยายน.

อับดุลมันนาน เอ็ม. (2539). เศรษฐศาสตร์อิสลาม. กรุงเทพมหานคร : นัทชาพับลิชชิง จำกัด.

อับดุลรอชีด เจะมะ และคณะ. (2545). ระบบสวัสดิการในชุมชนมุสลิม กรณีการจ่ายซะกาตในกลุ่ม ออมทรัพย์อิสลาม. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

al-Bukhari, Muhammad Bin Ismail. (1987). Sohih al- Bukhari. al- Beirut : Dar Ibn Kathir.

al-Ghazali, Abu Hamid Muhammad bin Muhammad. (2000). Ih’ya al-‘Ulum al-Din. Beirut : Dar Sadir.

al-Naisaburi, Muslim Bin al-Hajjaj. n.d. SahIh Muslim. Bearut: Dar al-Jabal.

al-Nawawi, Yahya bin Sharaf. (1987). SohIh Muslim bi Sharh al-Nawawi. Cairo : Dar al- Raiyan.

al-Qaradawi, Yusuf. (1973). Fiqh al-Zakat. Beirut : Muassasah al-Risalah.

al-Qaradawi, Yusuf. (1998). al-Siyasah al-Shareyah Fi Daw al-Nusus al-Shareyah.

al-Qahirah : Wahbah.

al-Sarakhsi, Hsam al-Suddin Muhammad bin Ahmad. n.d. Kitab al- Mabsut. Egypt : Dar al-kutub.

al-Shafi‘i, n.d. al-Aum. al-Maktabah al-Shamilah.

Saiyid Sabiq, (1998). Fiqh al-Sunnah. Beirut : Dar al-Fikr.

Ibn al-Rushd, Abu al-Walid Muhammad bin Ahmad al-Qurtubi. 1983. Bidayah

al-Mujtahid waNihayah al-Muqtasad. Madinah : Dar al-‘Ulum wa al-Hikam.

Ibn al-Jauzi, Jamal al-Din Abu al-Faraj abd al-Rahman bin abi al-Hasan. 1984. Zad al- Masir. Beirut: al-Maktabah al-Islami.

Certo, Samuel C. (2000). การจัดการสมัยใหม. แปลจากเรื่อง Modern management แปลโดย พัชนี นนทศักดิ์ และปยะพันธ ปงเมือง. กรุงเทพฯ: เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชนา.

al-Zuhaili, wahbah. (1985). al-Fiqh al-Islami wa Adilatuh. Beirut Dar al-Fikr.

Binbaz, n.d. Majmu’a Fatawa Ibnbaz. al-Maktabah al- Shamilah. V.3.35.

al-Shaukani,Muhammad Bin Ali Muhammad. n.d. Nai al-Aautar. al-Maktabah al- Shamilah

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-12-2017

How to Cite

อับรู อ., & อาแว ส. (2017). กระบวนการบริหารจัดการซะกาตของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 8(2), 41–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/166866