ความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์บริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • อับดุลรอนิง สือแต Ph.D. (West Asian Studies), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน M.A. (Malay Studies), คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซาวาวี ปะดาอามีน M.A. (Malay Studies), คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์, ชายแดน, ประเทศไทย, มาเลเซีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์ระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวมลายูมุสลิม  ในด้านการผสมกลมกลืนและการยอมรับทางวัฒนธรรม   ด้านการเมือง  ด้านการศึกษา   และผลกระทบของความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์ที่มีต่อความมั่นคง ความสงบสุขของสังคมบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย  ดำเนินการวิจัยโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  การสนทนากลุ่ม  และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  จากชุมชนมุสลิมและชุมชนไทยพุทธที่อยู่บริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย   ผลการวิจัยพบว่า  1) ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ไทยพุทธกับมลายูมุสลิมมีการผสมกลมกลืนและเกิดการยอมรับวัฒนธรรมของกันและกัน เช่น การกิน การยืมคำมาใช้ในการพูดประจำวัน และการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์  จึงทำให้มีความเข้าใจและช่วยเหลือกัน  2) ด้านการเมือง  พบว่าความสัมพันธ์ทางการเมืองระดับท้องถิ่นจะเป็นความสัมพันธ์ทางบวกและมีความร่วมมือเป็นกลุ่มเดียวกันมากกว่าการเมืองระดับชาติ  3) ด้านการศึกษา  พบว่าการศึกษามีความสำคัญมากต่อการสร้างและการปลูกฝังความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์  โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลเพราะทำให้เด็กมีความใกล้ชิดสนิทกันซึ่งเป็นการปูพื้นฐานในการยอมรับวัฒนธรรมระหว่างกัน  ส่วนการศึกษาระดับอุดมศึกษาช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาทั้งสองฝ่ายมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมสูงขึ้น  เข้าใจวิถีชีวิตรู้จักนำหลักวิชาการ  ต่าง ๆ มาพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์และชุมชนได้ดี และ 4) ผลกระทบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์นั้นความอคติทางชาติพันธุ์ยังคงมีอยู่  สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกัน  แม้มีอยู่เป็นส่วนน้อยเท่านั้นแต่ก็ยังสัมผัสได้  จึงส่งผลต่อความสงบสุขของสังคมในบริเวณดังกล่าว  และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติได้

References

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2547). ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2546). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Barth, Fredrik. (1969). Ethnic Groups and Boundaries the Social Organization of Culture Difference. Second printing, Boston: Little Brown Company.

Bin Nik Hassan, Nik Abdul Rakib. (2003). Siamisation of Malay Ethnic in Southern Thailand: A case study in Bachok Distric ,Narathiwat Province., Master Thesis ,Universiti Malaya.

Eh Kan, Mek Kerin. (2001). Hubungan Etnik dan asimilsi : satu kajian kes di Kampung Tas Baling , Kedah. Academic exercise (B.A) Jabatan Sosio-Budaya Melayu, Akademi Pengaian Melayu, Universiti Malaya.

Kunthong, Chanthira. (1991). Orange Thai di Simpang Empat: satu kajian mengenai iidentiti dan hubungan etnik di perkampungan Thai di Simpang Empat, Baling Kedak. Academic exercise (B.A) Universiti Malaya.

Satha-Anand, Chaiwat. (1992). “Pattani in the 1980s: Academic Literature and Politics stories.” In Sojourn (ISEAS), 7, No. 1, (February 1992).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-12-2017

How to Cite

สือแต อ., บินนิฮัสซัน น., & ปะดาอามีน ซ. (2017). ความสัมพันธ์เชิงชาติพันธุ์บริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 8(2), 18–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/166842