การศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง ศษ.ม. (ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน), นักวิชาการอุดมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และจัดประชุมกลุ่มเป็นหลัก ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบความตรงและความน่าเชื่อถือโดยใช้ระยะเวลาในการสร้างความสัมพันธ์ ระมัดระวังในการถอดเทปสัมภาษณ์ สอบถามหลาย ๆ ครั้งในประเด็นเดิม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า การเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการคิดโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาคณิตศาสตร์ จัดเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการเรียนก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การไม่ศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่าง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต กระบวนทัศน์ และความคิดที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษายังขาดมุมมองความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการเป็นผู้นำ ขาดวุฒิภาวะและทักษะในการเป็นผู้นำ กลุ่มนักศึกษายังรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อโดยไม่มีการวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหา การใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษายังไม่เหมาะสม นักศึกษายังขาดทักษะการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ โดยไม่ได้วางแผนการทำงานในอนาคต

References

ณัฐกานต์ ธนูสาร. (2556). การใช้อินเทอร์เน็ตไม่เหมาะสม ขาดคุณธรรม แล้ววิเคราะห์สาเหตุ.วันที่ ค้นหาข้อมูล 12 กันยายน 2559, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://nutthakan9.blogspot.com/

ทิศนา แขมมณี. (2555). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2554

บางกอกทูเดย์. (2551). สร้างภาวะผู้นำในเด็กและเยาวชนไทย. วันที่ค้นหาข้อมูล 10 กันยายน 2559, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news

ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งบนฐานการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น. ปาฐกถาวันมาฆบูชา 2547 ในงานทอดผ้าป่าเพื่อป่าชุมชน วัดเนินน้อย อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา

มนทกานติ์ รอดคล้าย. (ม.ป.ป.). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and Family Development in the 21th Century). วันที่ค้นหาข้อมูล 19 เมษายน 2558, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://taamkru.com/th/%E0%B8%81%E0

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2559). ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาการศึกษาไทย. วันที่ค้นหาข้อมูล 12 กันยายน 2559, เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://blog.eduzones.com/GlobalAcademy Ladphrao/ 14225

สันติพจน์ กลับดี. (2558). ทักษะขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ส่วนอาเซียน สำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ. กรมประชาสัมพันธ์. วันที่ค้นหาข้อมูล 12 กันยายน 2559, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid= 3314&filename=index

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565). กระทรวงศึกษาธิการ. 30 กันยายน 2550

ลักขนา สิริวัฒน์. (2554). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : ดอเดียนส์สโตร์

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: แผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (ม.ป.ป) . การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์. วันที่ค้นข้อมูล 2 กันยายน 2559, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-01-2019

How to Cite

เจ๊ะหลง อ. (2019). การศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 8(2), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/166835