การพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

ผู้แต่ง

  • จารุวัจน์ สองเมือง ศษ.ด. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • ธีรพงศ์ แก่นอินทร์ Ph.D. (Curriculum and Instruction), รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต Ph.D. (Education), รองศาสตราจารย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

อีเลิร์นนิ่ง, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนการพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งและแนวทางการนำระบบไปใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือระยะศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนระยะออกแบบและพัฒนาระบบ ระยะหาประสิทธิภาพและระยะทดลองใช้ระบบในสภาพจริง ผลการวิจัยพบว่า  ระบบ     อีเลิร์นนิ่งสำหรับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมีเป้าหมายเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ใช้คู่กับการจัดการเรียนการสอนปกติ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างรอบด้านระบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ส่วนสนับสนุน ได้แก่ นโยบายและการส่งเสริม โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการเว็บไซต์ 2) ส่วนเตรียมกระบวนการ ได้แก่ ครู นักเรียน เนื้อหา กิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3) ส่วนกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่การวางกติกาการเรียนรู้และพฤติกรรมพึงประสงค์การนำเสนอและแลกเปลี่ยน การกระตุ้นและตอบสนองการเรียนรู้การประยุกต์ใช้ และการสรุปผล

References

อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ซอลีฮะห์ หะยีสะมะแอ. (2551). มโนทัศน์การศึกษาในอิสลาม.โรงพิมพ์ชานเมือง : สงขลา.

สะการิยา แวโซะ. (2550). แนวโน้มการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ. 2548-2558. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 12. 15-16 พฤศจิกายน 2550. จัดโดย สํานักงานเลขานุการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2551 จาก http://edu.pbru.ac.th/pdf/ 20071106-sym-onec12.pdf

อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต. (2551). ปรัชญาการศึกษาอิสลาม. หาดใหญ่กราฟฟิก: สงขลา.

จารุวัจน์ สองเมือง, เกษตรชัย และหีม, คอเหล็ด หะยีสะอิ, ฮาชิม อัชชารีฟ และมูหามัดรูยานี บากา. (2552). รายงานวิจัยระบบและกลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม.

นิเลาะ แวอุเซ็ง, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต, อะห์หมัด ยี่สุ่นทรง และมูหามัดรูยานี บากา. (2552). การจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2552) หน้า 739-765.

EvgueniKhvilon and MarianaPatru. (2002). Information and communication Technologies in Teacher Education: A Planning Guide. (Ed. Paul Resta and Alexey Semenov). Unesco, Paris [Online]http://unesdoc.unesco. org/images/0012/ 001295/129533e.pdf (Accessed 15 June 2012).

Heather Kanuka. (2011). Through Philosophies-in-Practice. In Terry Anderson. Theories of Practice of Online Learning. Athabasca University. The Center for Distance Education. [Online] Available at http://www.aupress.ca/index.php/ books/120146 (Accessed: 07/10/2012).

Juan Quemada and Bernd Simon. (2003). A Use-Case Based Model for Learning Resources in Education Mediators. Educational Technology & Society, 6(4), 149-163. Available at http://ifets.ieee.org/periodical/6_4/14.pdf. (Accessed: 03/09/2012).

Mohamed Ally. (2011). Foundations of Educational Theory for Online Learning. In Terry Anderson. Theories of Practice of Online Learning. Athabasca University. The Center for Distance Education. [Online] Available at http://www.aupress. ca/index.php/books/120146 (Accessed: 07/10/2012).

Terry Anderson. (2011). Towards a Theory of Online Learning. In Terry Anderson. Theories of Practice of Online Learning. Athabasca University. The Center for Distance Education. [online] Available at http://www.aupress.ca/index.php/books/ 120146 (Accessed: 07/10/2012).

Tony Bates. (2001). National strategies for e-learning in post-secondary education and training. Fundamentals of Educational Planning- No.70. [online] http://unesdoc. unesco.org/images/ 0012/001262/126230e.pdf (Accessed 15 June 2012).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-05-2016

How to Cite

สองเมือง จ., แก่นอินทร์ ธ., & ณรงค์รักษาเขต อ. (2016). การพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งสำหรับการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(1), 60–73. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/150548