การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้อัตตารีค (ศาสนประวัติ) เรื่องเคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาหรับนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบตีดาอียะห์) ปีที่ 6
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์, อัตตารีค (ศาสนประวัติ), เคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่, นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้นปีที่ 6บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้อัตตารีค (ศาสนประวัติ) เรื่องเคาะลีฟะฮ์ทั้งสี่ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบตีดาอียะห์) ปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์กับการสอนแบบปกติ และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบตีดาอียะห์) ปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี ใช้แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวัดก่อนหลังการทดลอง (Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนการสอนสาระอัตตารีค (ศาสนประวัติ) โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์และแผนการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของการแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ มีประสิทธิภาพ 83.52/88.40 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้ร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมวิชาการ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
จิราพร ยมนา สิริวรรณ ศรีพหล และสมประสงค์ น่วมบุญลือ. (2555). ผลการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภูเก็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต. บทความนำเสนอในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครั้งที่ 2 ณ อาคารสัมมนา 12 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 4-5 กันยายน 2555.
ชนาธิป พรกุล. (2551). ออกแบบการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วี พริ้นท์ (1991).
ณรงค์ สังข์มุรินทร์. (2549). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ดาวคลี่ ศิริวาลย์. (2543). ผลการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนจากการประยุกต์รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพ ฯ:นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งจำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการ พิมพ์จำกัด.
ธัญญภัทร์ ปุณยมนัสโรจน์. (2555). รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556 จาก http://swis.act.ac.th/html_edu/ act/temp_ emp _research /1541.pdf.
นรินทร์ กระพี้แดง. (2547). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ที่มีทักษะการทำงานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบอบประชาธิปไตย ในรายวิชา ส 402 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2540). การเรียนแบบร่วมมือร่วมใจในการสร้างความรู้. เอกสารการประชุมวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ครั้งที่ 7 (วทศ.7) เรื่อง “การเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” วันที่ 13-14 ธันวาคม 2540 จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย เอกสารหมายเลข 2 จำนวน 10 หน้า.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
แพรวพรรณ์ พฤกษ์ศรีรัตน์. (2544). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ศึกษาความร่วมมือในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รุ่งทิวา วิริยาสถิต. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน้าที่ของประชาชนไทยการคิดอย่างมีวิจารณญาน และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีพหุปัญญากับการจัดการเรียนรู้แบบ jigsaw. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรัญญา ดารากัย. (2554). คอลีฟะฮ์ทั้งสี่ในอิสลาม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556 จากhttp://sameaf.mfa.go.th/th/important_person/detail.php?ID=2954.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544. กรุงเทพ ฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สายัณห์ สิทธิโชค. (2553). หลากหลายเทคนิคการสอนประวัติศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 4 (2) 217-239.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุดรัก แก้วระงับ (2548). ผลการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการพัฒนาความคิดวิเคราะห์เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นปัตตานีในรายวิชา ส41101 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทุ่งยางแดงพิทยาคม จังหวัดปัตตานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวิมล เขี้ยวแก้ว สุเทพ สันติวรานนท์ และอุสมาน สารี. (2542). ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5 (1) : 76-93.
โสภี วรสวาสดิ์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้ศาสนประวัติ ปวช. 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556 จากhttp://www. sasana. ac.th/upfile/vijai55/.%E0%B9%82%E0% B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8% B5.pdf.
อรวรรณ หลอมทอง. (2551). ผลการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้รายวิชา ส 41101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉราพร ตันบรรจง. (2545). กระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่องประวัติเมืองเชียงใหม่กับผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.
พะเยาว์ คงยืน สุมนทิพย์ บุญสมบัติ และประพนธ์ เจียรกูลม (2555). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ที่มีต่อมนุษยสัมพันธ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. บทความนำเสนอในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 ณ อาคารสัมมนา 12 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 4-5 กันยายน 2555.
Abdekkader, Deina. (2003). Social justice in Islam. New Dehli : Goodword Books.
AC History Units. (2014). How to teach history. Retrieved November 29, 2014, from http://www.achistoryunits.edu.au/teaching-history/how-to-teach-history/teachhist-history-pedagogy.html.
Ahmad, Khaliq. (2007). Management for Islamic perspective: principles and practices. Kuala Lumpur : IIUM Press.
Steeves, Kathleen Anderson. (1998). Working Together to Strengthen History Teaching in Secondary Schools. Retrieved November 29, 2014, from https://www.historians. Org/about-aha-and-membership/aha-history-and-archives/archives/working-together-to-strengthen-history-teaching-in-secondary-schools.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา