การบริหารจัดการในครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • รูดียะห์ หะ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซาฝีอี อาดำ Ph.D. (West Asian Studies), อาจารย์ประจำหลักสูตรตะวันออกกลางศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

ภรรยาหลายคน, บริหารจัดการ, ครอบครัวมุสลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคน ตลอดจนปัญหาและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลภาคสนามจากกรณีศึกษาซึ่งเป็นครอบครัวมุสลิมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 10 ครอบครัว โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสร้างความสัมพันธ์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการจัดระบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการภายในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคนมีองค์ประกอบดังนี้ คือ 1) การให้ความยุติธรรมแก่ภรรยาและบุตร 2) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว 3) การถ่ายทอดความรู้ศาสนา 4) การอบรมเลี้ยงดูบุตร 5) การจัดการความขัดแย้งภายในครอบครัว 6) การจัดการอารมณ์และความเครียด ปัญหาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคน แบ่งออกได้ดังนี้ คือ 1) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายใน อันได้แก่ ครอบครัวต้องประสบกับสภาวะความเครียดในช่วงของการปรับตัว  ผู้นำครอบครัวขาดการเตรียมความพร้อมในการสร้างฐานความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ภรรยาคนที่หนึ่ง และปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ขาดความคล่องตัว 2) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ขาดการยอมรับจากบิดามารดาและเครือญาติของภรรยา ความไม่เข้าใจของกลุ่มเพื่อนของบรรดาภรรยา การได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม และได้รับผลกระทบจากสื่อที่เข้ามาคุกคามความมั่นคงของครอบครัว นอกจากนี้ เงื่อนไขเชิงบริบทยังคงส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัว กล่าวคือ ควรมีการสร้างความเข้าใจแก่คนในสังคมควบคู่กันทั้งในระดับปัจเจกบุคคลคือ ผู้นำครอบครัว ภรรยาคนที่หนึ่ง และผู้หญิงมุสลิมคนอื่น ๆ ในสังคม และในระดับสังคมก็ควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่มุสลิม เพื่อให้การนำบทบัญญัตินี้ไปใช้มีความถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่มากที่สุด

References

เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี. (มปป). แปลโดย บรรจง บินกาซัน 2551. ตัฟฮีมุลกุรอานความหมายคัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสืออิสลาม.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. (2542). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺอัลมุเนาวะเราฮฺ: ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน

สุภางค์ จันทวานิช. (2546). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Hammudah Abdalati. (1995). The Family Structure in Islam. 4th edition. United States: American Trust Publications.
Abu Ameenah Bilal Philips and Jameelah Jones. (1990). Polygamy in Islam. Riyadh : Tawheed Publications.

Mohammed bin Misfer bin Hussein At-Towil. (2004). Ta’addud al-Zaujātfī al-Islām
(تعدد الزوجات في الإسلام ) Maktabah Miskāt al-Islamiyah.

Muhammad Imron. (2000). Ideal Woman in Islam. Pakistan: Islamic Publications (Pvt) Ltd. Limited.

S.M. Madani Abbasi. (1995). Family of the Holy Prophet. : Adam Publishers and Distributer.

Omar M. Khasawneh, Abdul Hakeem Yacin Hijazi and Nassmat Hasan Salman. (nd.) Polygamy and Its Impact on the Upbringing of Children: A Jordan Perspective. Educational Administration and Foundations, College of Education, Yarmouk University.Irbid. Jordan.

S.Elbesdour, William Bart and Joel Hektner. (2007). The relationship between monogamous/polygamous family structure and the mental health of Bedouin Arab adolescents. Department of Human Development and Psychoeducational Studies, School of Education, Howard University.

DhinarKamesworo. (2011). Persepsi Perempuan Tentang Poligami yang Dilakukan Para Tokoh Agama Islam “Ustadadz”.Fakultas Ilmu Sosial dan Ilmu Politik. Universitas Pembangunan Nasional “Veteran” JawaTimur. Indonesia

อับดุลสุโก ดินอะ. (2553). อนาคตกฎหมายอิสลามในประเทศไทย The Future of Islamic Law in Thailand.http://www.oknation.net/blog/print.php?id=57895 สืบค้นเมื่อวันที่ 17/12/2554

Radiafisha Anastri. (nd). Self Acceptanccein Teenagers Who Have Polygamy Parents. Gunadarma University Library : http:// library.gunadarma.ac.id – สืบค้นวันที่ 3/3 2555

Ardian Didik. (2009). http://publikasi.umy.ac.id/index.php/komunikasi/article/ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 /2/2555

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-05-2016

How to Cite

หะ ร., & อาดำ ซ. (2016). การบริหารจัดการในครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 7(1), 29–43. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/150543