องค์ประกอบระบบการจัดการศึกษาอิสลามที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาของผู้เรียน โรงเรียนรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
ผลลัพธ์ทางการศึกษา, การจัดการศึกษาอิสลามในโรงเรียนรัฐ, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบระบบการจัดการศึกษาอิสลามที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาของผู้เรียนโรงเรียนรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนรัฐระดับประถมศึกษาทั้งแบบรายชั่วโมงและแบบเข้มในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จานวน 269 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอน กระบวนการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน ทรัพยากรด้านวัตถุ และทรัพยากรด้านบุคคล มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางการศึกษาของผู้เรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่องค์ประกอบดังกล่าวนี้สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของการเพิ่มขึ้นของผลลัพธ์ทางการศึกษาของผู้เรียนได้ร้อยละ 45.7
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา.
ซัลมา หีมอะด้ำ. (2553) การใช้หลักจิตวิทยาการศึกษาอิสลามในกระบวนการสอนของครูอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารและจัดการการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ดำรง เสนสัด. (2548). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงลักษณ์ หะยีมะสาและ. (2540). ปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของครูสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิตยา มัสเยาะ. (2545). ปัญหาการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาในทัศนะผู้บริหารโรงเรียนและผู้สอนอิสลามศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในชุมชนมุสลิม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2554). การจัดการศึกษาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นูรีซัน ดอเลาะ. (2551). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มาหามะรือสะลี บินเซ็ง. (2556). สภาพปัญหาและความต้องการการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มูฮำมัดนาเซ สามะ. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนสองหลักสูตร จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
มูฮำหมัด มอลอ. (2554). การบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
รุสดีย์ ดอหะ (2556). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่จัดการศึกษาอิสลามแบบเข้มสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารและจัดการการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สปียัน แยนา. (2553). การปฏิบัติการสอนของครูอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เปิดสอนสองระบบ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมบูรณ์ จารุวรรณ. (2531). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษาพุทธศักราช 2523 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนประถมศึกษา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
อัดนันย์ อาลีกาแห. (2553). ปัญหาและความต้องการของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อามีเนาะ มามุ. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศการสอนวิชาอิสลามศึกษาของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครูสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฮาสาน๊ะ จิเหม. (2557). สภาพปัญหากระบวนการใช้สื่อการสอนอิสลามศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา