บทบาทของอิหม่ามในการบริหารและการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

ผู้แต่ง

  • อับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ กศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อะห์มัด ยี่สุ่นทรง Ph.D. (Higher Education) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท (สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม) วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของอิหม่ามในการบริหารและการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จากการศึกษาตำราเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า อิหม่ามเป็นผู้นำในการบริหารจัดการมัสยิดและดูแลสัปปุรุษในพื้นที่ ในขณะเดียวกันดำรงตำแหน่งเป็นประธานศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในหมู่บ้าน โดยการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นั้น อิหม่ามเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการให้มีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นทางการ กล่าวคืออิหม่ามเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้ง การดำเนินการบริหาร การแต่งตั้งและถอดถอนครู การยื่นขอรับการอุดหนุนจากทางราชการ และการขอยกเลิกการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

References

กรมการปกครอง. 2548. มาตรฐานและสาระการจัดการเรียนรู้หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ. 2548/ ฮ.ศ.1426. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2548. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส พ.ศ.2548. กระทรวงศึกษาธิการ

ดลมนรรจ์ บากา และเกษตรชัย และหีม. 2548. บทบาทของผู้นำมุสลิมในการพัฒนาการศึกษาของสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการวิจัย วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์. 2009. การสืบตำแหน่งผู้ปกครอง. แปลจาก al-Khilafah wa al-Imarah. โดย ยูซุฟ อบู บักรฺ. มปท.

ยุซุฟ ก็อรฎอวีย์. 2530. ปัญหาของมุสลิมและทางแก้ตามแนวทางอิสลาม. แปลโดย อิบนุ อิสมาอีล. กรุงเทพฯ : เจริญผล.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 1998. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมแปลเป็นภาษาไทย. อัลมาดีนะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน

อับดุลฮาดี สะบูดิง. 2547. แนวความคิดเกี่ยวกับอิมามะฮฺ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอะฮฺลิซซุนนะฮฺและชีอะฮฺ.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

al- Bukhari, Muhammad bin Ismail. 2001. Sahih al-Bukhari. Dar al-Mannar

Ibn Khaldun. 1996. Mukadimah Ibn Khaldun. Bairut : Dar al-Jil

Ibn Mansur. 1996. Lisanul Arab. Bairut : Dar Ehyatutturas

Muhammad bin al-Hajjaj al-Naisaburi. 1982. Sahih Muslim bi Syarh al-Nawawiy. Beirut : Dar al-Fikr.

Muhammad Ibn Husain. 1980. Al-Uddah Fi Usulul Fiqh. Bairut : Al-muassasah Arrisalah

Neceur Jabnoun . 2548 . อิสลามและการจัดการ. แปลจาก Islam and Management. โดย นิเลาะ แวอุเซ็ง. สงขลา : หาดใหญ่กราฟฟิก วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-09-2018

How to Cite

เจ๊ะมามะ อ., & ยี่สุ่นทรง อ. (2018). บทบาทของอิหม่ามในการบริหารและการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา). วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(2), 17–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/144889